DSpace Repository

การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคลีนและไคเซ็น : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมลิฟต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฤภูวัลย์ จันทรสา
dc.contributor.author อริยะ เสมอวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:26Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:26Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8080
dc.description งานนิพนธ์ (วศ.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการออกแบบลิฟต์ให้มีความสูญเปล่าที่ลดลงโดยประยุกต์หลักการลีนและไคเซ็น การวิจัยได้ดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA เริ่มต้นจากขั้นตอนการวางแผนงาน (Plan) ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์และกระบวนการออกแบบลิฟต์ของบริษัทกรณีศึกษาแล้วคัดเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ลิฟต์ที่เป็นการออกแบบพิเศษ ได้แก่ Class C, D และ E จากนั้นได้วิเคราะห์ด้วยความสูญเปล่าในกระบวนการออกแบบ และวิเคราะห์ขั้นตอนที่สร้างคุณค่าและไม่สร้างคุณค่า ซึ่งพบ 2 ขั้นตอนที่ควรปรับปรุง ได้แก่ 1) ขั้นตอนการคำนวณตัวแปรในการออกแบบซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่สร้างคุณค่าแต่จำเป็นต้องทำและเกิดความสูญเปล่า จากการใช้คนไม่เหมาะกับงาน และ 2) ขั้นตอนการใช้แผ่นตรวจสอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่สร้างคุณค่าและไม่จำเป็นต้องทำและพบความสูญเปล่าจากการใช้แผ่นตรวจสอบที่ซ้ำซ้อนกัน 2 ขั้นตอน จากนั้นจึงปฏิบัติตามแผน (Do) โดยการนำเสนอการปรับปรุงด้วยวิธีการใหม่ตามแนวทางไคเซ็น คือ การวิเคราะห์ ECRS และการใช้โปรแกรม Microsoft Excel VBA ในการปรับปรุงกระบวนการออกแบบ แล้วจึงทำการประเมินผล (Check) ซึ่งพบว่าการปรับปรุงโปรแกรมคำนวณตัวแปรสำหรับงานออกพิเศษ Class C สามารถลดเวลาได้ 40.81% และงานออกแบบพิเศษ Class D, E สามารถลดเวลาได้ 34.20% การปรับปรุงการใช้แผ่นตรวจสอบสามารถขจัดกระบวนการที่สูญเปล่าลง 2 ขั้นตอนจากทั้งหมด 16 ขั้นตอน ให้เหลือ 14 ขั้นตอนได้สำหรับขั้นสุดท้ายของงานวิจัย คือ การดำเนินการ (Action) ให้เหมาะสมได้จัดทำมาตรฐานสำหรับกระบวนการใหม่ที่ได้ปรับปรุงไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ลิฟต์ -- การผลิต
dc.subject การออกแบบผลิตภัณฑ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม
dc.title การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคลีนและไคเซ็น : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมลิฟต์
dc.title.alternative Improvement nd development of product design process using len nd kizen: cse study of elevtor industry
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this reseach is to improve the design process for the elevatorsby waste reduction using concepts of Lean and Kaizen. The research applied quality circle PDCA as a research methodology. The first step was the Plan phase (P) in which elevator products and design processes of the case study company were studied. Next, the elevator products which had special designs were selected to be studied, which were products class C, D, and E. Then, each step of the design processes was analyzed for its wastes and value creation as value-added or nonvalue addedactivities. This study found 2 steps that need to be improved. The first one was the step of design variable calculation which was identified as non-value added but necessary and waste of inappropriate assignment betweenoperator and work. Another one was the step of the design checksheet usage which was identified as non-value added and unnecessary and waste of 2 steps redundant worksheets. In the Do phase (D), the improved design processes weredetermined and implemented using ECRS technique of Kaizen, as well as Microsoft Excel VBA. Performing the Check phase (C), it was found that time used for calculating design variables was reduced by 40.81%, and 34.0% for the class C and class D, E of the elevators, respectively. Moerover, rearranging the design checksheet, the overall steps of the design processes were reduced by 2 steps, from 16 steps to 14 steps. In the final phase, which was Action (A), the improvedelevator design process was established as the standardized design process for the company.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการงานวิศวกรรม
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account