dc.description.abstract |
โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการลด ละ เลิก บุหรี่ โดยให้การบำบัดผู้ติดบุหรี่ด้วยการบูรณาการเลิกบุหรี่ด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวและอมสมุนไพรกานพลู และเพิ่มการล้างพิษโดยใช้สมุนไพรรางจืดและอบไปน้ำสมุนไพร ร่วมกับการใช้เทคนิค 5A และ 5R การสร้างแรงจูงใจตามแนวทางของควิทวิคตอเรีย (Quit Victorai) และเน้นติดตามผลการบำบัดรักษาอย่างใกล้ชิด โดยวิธีการทางโทรศัพท์ติดตามหลังการบำบัดเป็นระยะ คือ 5 วัน, 10 วัน, 15 วัน, 1 เดือน, 3เดือน, 6เดือนและ 1 ปี งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการบูรราการการเลิกบุหรี่ด้วยสมุนไพร ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2553 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลา 16 เดือนมีผู้รับบริการจำนวน 349 คน อายุเฉลี่ย 41.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 320 คน (91.7%) อาชีพรับจ้าง 282 คน (80.8%) ระดับการศึกษาขั้นประถมศึกษา 179 คน (51.3%) รองลงมาคือมัธยมศึกษา 118 คน (33.8%) สถานภาพสมรส 212 คน (60.7%) เฉลี่ยสูบบุหรี่วันละ 16 มวน สูงสุด 43 มวน เฉลี่ยสูบบุหรี่มานาน 22 ปี เฉลี่ยเริ่มสูบอายุ 18.4 ปี ต่ำสุด 7 ปี โดยสูบเป็นประจำทุกวัน 320 คน (91.7%) มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ 137 คน (39.3%) ผลการประเมินระดับสารเสพติดนิโคตินเฉลี่ย 5.1 +_ 2.1 ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ 307 คน (87.7%) เคยเลิกสูบบุหรี่มาแล้ว ครั้งนี้อยากเลิกสูบบุหรี่เพราะสุขภาพไม่ดี 291 คน (83.4%) กลัวเป็นโรค 284 คน(81.1%) ผลการให้คำปรึกษา 84 คน (24.1%) ต้องการเลิกบุหรี่วันนี้เลยแต่ส่วนใหญ่คือ 247 คน (70.8%) จะค่อยๆลดการสูบบุหรี่ลง มีผู้ต้องการยาช่วยในการเลิกบุหรี่ 275 คน (78.8%) ผลการติดตามหลังการบำบัดในระยะเวลา 5 วัน, 10 วัน, 15 วัน, 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือนและ 1ปี มีผู้ได้รับการติดตาม 303 คน, 306 คน, 312 คน, 303 คน,240 คน, 206 คน,และ 39 คนตามลำดับ พบว่ามีผู้เลิกสูบบุหรี่ได้ 65 คน (21.5%), 10 คน (3.3%), 13 คน (4.2%), 34 คน (11.2%), 36 คน(15%), 23 คน(11.2%) ตามลำดับส่วนที่เหลือคือ สามารถลดการสูบบุหรี่ได้ โดยค่าเฉลี่ยจำนวนบุหรี่ที่สูงต่อวัน 16 มวน ลดลงเหลือ 8.6 มวน, 7.1 มวน,0.9 มวนตามลำดับ ผลการบูรณาการเลิอกบุหรี่ด้วยสุมนไพรในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย สามารถใช้เป็นแนวทางให้บริการแบบบูรณาการสำหรับสถานบริการอื่นๆ |
th_TH |