dc.contributor.advisor |
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ |
|
dc.contributor.advisor |
สุชาดา กรเพชรปาณี |
|
dc.contributor.author |
พระสรณ์สิริ ปชฺชลิโต (โททอง) |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:43:36Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:43:36Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8006 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทยจำแนกตามระดับพรรษา เปรียบเทียบระยะเวลาการเข้าสู่สมาธิของพระภิกษุสงฆ์ที่ระดับพรรษาแตกต่างกัน และเปรียบเทียบความคงทนขณะอยู่ในสมาธิระหว่างพระภิกษุสงฆ์ที่ระดับพรรษาแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทย อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง มีอายุระหว่าง 20-70 ปี จำนวน 60 รูป ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์นวกะ 20 รูป พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ 20 รูป และพระภิกษุสงฆ์เถระ 20 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan วิเคราะห์สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยโปรแกรม MATLAB และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยปรากฏว่า ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทย ในพระภิกษุสงฆ์นวกะ มีพลังงานอัลฟ่ามีค่าสูงสุด พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ มีพลังงานเธต้ามีค่าสูงสุด และพระภิกษุสงฆ์เถระ มีพลังงานเดลต้ามีค่าสูงสุด ระยะเวลาในการเข้าสู่สมาธิ พระภิกษุสงฆ์นวกะ เข้าสู่สมาธิได้ในช่วงนาทีที่ 5 ของการนั่งสมาธิ ความคงทนขณะอยู่ในสมาธิ พระภิกษุสงฆ์นวกะ มีความคงทนขณะอยู่ในสมาธิได้เป็นบางช่วงเวลาของการนั่งสมาธิ 30 นาที พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ และพระภิกษุสงฆ์เถระ เข้าสู่สมาธิตั้งแต่นาทีที่ 1 ของการนั่งสมาธิ พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ และพระภิกษุสงฆ์เถระมีความคงทนขณะอยู่ในสมาธิได้ระยะเวลาตลอด 30 นาทีของการนั่งสมาธิ สรุปได้ว่า ระดับสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทย จากข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องตามแนวพระพุทธศาสนา และตามระดับของการฝึกปฏิบัติ โดยในขณะนั่งสมาธิพระภิกษุสงฆ์นวกะ มีพลังงานอัลฟ่ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ มีพลังงานเธต้ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) และกลุ่มพระภิกษุสงฆ์เถระ มีพลังงานเดลต้ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
สมาธิ -- การฝึก |
|
dc.subject |
คลื่นไฟฟ้า |
|
dc.title |
การเปรียบเทียบระดับสมาธิตามแนวพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ไทยจำแนกตามระดับพรรษา : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง |
|
dc.title.alternative |
A comprison of the level of buddhist medittion of thi monks clssified by yer of ordintion: n electroencephlogrm study |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to analyze the brainwave categories of Thai Buddhist monks during meditation period classified by ordination years, to compare times taken leading through the meditation stage, and to compare meditation sustained period. The volunteers sampling participating the experiment were 60 Thai Buddhist monks aged between 20-70 years old consist of 20 Navaka monks; a newly ordained monks, 20 Majjhima monks; 5-10 years in monkhood, and Thera monks; 10-19 years in monkhood. The measurement consisted of general questionnaire and Neuroscan system for brainwave frequencies record. The brainwave signals were analyzed by MATLAB program. Data were descriptive statistics. The results showed that during the meditation period, Navaka monk had brainwave most in alpha stage. Majjhima Monk had brainwave most in theta stage and Thera monks had brainwave most in delta stage. Navaka monks took 5 minutes to get into meditation and momentary sustained during 30 minutes-experiment. Whilst Thera monks and Majjhima monks were through meditation at first minute and sustained all through 30 minutes-experiment. It was concluded that Thai Buddhist monks’ meditation level, based on the empirical data was reasonable/related/connected with Lord Buddha’s teaching in 3 level of meditation practice (Concentration). Navaka monk group had brainwave most in alpha stage which was equal to Momentary Concentration (Khanika Meditation). Majjhima monks group had brainwave most in theta stage which was equal to Access Concentration (Abpajaan Meditation). Last, Thera monks group had brainwave mostly at delta stage which was equal to Attainment Concentration (Uppana Meditation). |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|