DSpace Repository

การกำกับตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคมต่อการทำนายการจำแนกกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์จำแนกพหุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author ศศิบังอร ธรรมคุณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:43:36Z
dc.date.available 2023-05-12T06:43:36Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8005
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการกำกับตนเอง และสิ่งแวดล้อมทางสังคม กับสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร และ 2) สร้างสมการทำนายการจำแนกกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร ด้วยการกำกับตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60-69 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 406 คน ได้มาด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย 1) แบบสอบถามการกำกับตนเอง 2) แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมทางสังคม และ 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล และสร้างสมการทำนายจำแนกกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร ด้วยการวิเคราะห์จำแนกพหุ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ชุดตัวแปรทำนายการกำกับตนเอง และสิ่งแวดล้อมทางสังคม กับชุดตัวแปรเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 2. สมการที่สร้างขึ้นจากตัวแปรทำนายการกำกับตนเอง (การสังเกตตนเอง กระบวนการตัดสินใจ และปฏิกิริยาต่อตนเอง) และสิ่งแวดล้อมทางสังคม (ลักษณะที่อยู่อาศัย สัมพันธภาพในครอบครัว และการมีส่วนร่วมทางสังคม) สามารถทำนายการจำแนกกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานครได้ โดยสมการจำแนกสามารถพยากรณ์กลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานครโดยรวมได้ถูกต้องร้อยละ 71.50 เมื่อจำแนกตามเพศชายสมการจำแนกสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ 66.30 เพศหญิงถูกต้องร้อยละ 74.20 ช่วงอายุ 60-64 ปี ถูกต้องร้อยละ 68.30 และช่วงอายุ 65-69 ปี ถูกต้องร้อยละ 72.80
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สมรรถภาพทางกาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
dc.title การกำกับตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคมต่อการทำนายการจำแนกกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ติดสังคมในกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์จำแนกพหุ
dc.title.alternative Selfregultion nd socil environment for predicting the discriminnt of physicl fitness mong the well elderly people in bngkok: multiple discriminnt nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed 1) to study the relationship of self-regulation and social environment with the physical fitness of well elderly people in Bangkok and 2), to create an equation to predict the classification of physical fitness based on self- regulation and social environment. Purposive sampling was used to select 406 male and female well elderly people in Bangkok with an age range 60-69 years. Research instruments were 1) self-regulation questionnaires; 2) social environment questionnaires; and 3) physical fitness tests. Descriptive statistics were used to analyze the subjects’ general information. Variable correlation was analyzed by canonical analysis, creating a physical fitness prediction equation by using multiple discriminant analysis. The results were as follows: 1. The set of predictive variables: self-regulation and social environment, and the physical fitness measures were significantly correlated at the .05 level. 2. The equations created from the predictive variables, self-regulation (self-observation, judgment process, and self-reaction) and social environment (residential character, family relationship, and social participation), successfully predicted the classification of physical fitness. This equation was able to predict the classification of physical fitness overall (71.50%), by gender classification: male (66.30%) and female (74.20%), and by age range: 60-64 years (68.30%) and 65-69 years (72.80%).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account