DSpace Repository

การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.author วิสุทธิ์ กล้าหาญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7986
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์โดยอิงทฤษฎีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และศึกษาผลการใช้กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก จังหวัดระยอง จำนวน 160 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ (Mathematic Intelligence Training: MIT) แบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Emotiv รุ่น EPOC วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม MIT จำนวน 1 ชุด 14 ข้อ ใช้ระยะเวลาฝึกวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที ทำต่อเนื่อง 10 วัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ใช้กิจกรรม MIT มีเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกตามเพศกับลักษณะเชาวน์ปัญญา ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับลักษณะเชาวน์ปัญญาเมื่อจำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา ปรากฏว่า ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ แต่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีลักษณะเชาวน์ปัญญาสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังใช้กิจกรรม MIT มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญา ที่ย่านความถี่โลเบต้า และย่านความถี่อัลฟา บริเวณสมองส่วนหน้า ณ ตำแหน่ง AF3, F7, F3, F4, F8 และ AF4 บริเวณสมองส่วนข้าง ณ ตำแหน่ง P7 และ P8 ในขณะที่ย่านความถี่ ธีต้า มีปฎิสัมพันธ์ ณ ตำแหน่ง AF3, F4 และ AF4 และในย่านความถี่ไฮเบต้า มีปฏิสัมพันธ์กัน ณ ตำแหน่ง AF4
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เชาวน์ -- การทดสอบ
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject เชาวน์
dc.title การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternative Enhncing mthemticl intelligence mong primry school students: behvirol nd eeg study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to design activities to enhance intelligence in mathematics based on mathematical model theory, and then to study the effect of the developed activities on mathematical intelligence. The subjects were 160 primary students Watphlongchangphueak school, Rayong province. They were randomly assigned to experimental and control groups, each group composed of 80 people. Research instruments included Mathematics Intelligence Training (MIT), the Mathematics Intelligence scale, and a brain wave recorder: Emotiv; Epoc. Data were analyzed by using a two-way ANOVA. The results were as follows: 1) The mathematics intelligence activities developed consisted of one MIT program module. The training period was two times a day, 20 minutes per session for 10 consecutive days. 2) After training, the experimental group using the MIT program showed an increase in mathematical intelligence. However, there was no interaction effect between gender and scores on the mathematical intelligence scale. Moreover, no difference in mathematical intelligence scores was observed between genders, but a difference was found between groups with high and low mathematical intelligence levels at a significant level of .05. 3) Regarding the electroencephalogram (EEG) in primary school students after using the MIT program, there was an interaction effect of gender and mathematical intelligence scale scores on the EEG frequencies of the lower beta and the alpha bands at the frontal electrode sites: AF3, F7, F3, F4, F8 and AF4, at the parietal electrode sites: P7 and P8, while at the theta band, interaction effect was observed at the frontal electrode sites: AF3, F4 and AF4 and in the upper beta band at the frontal electrode site AF4.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account