DSpace Repository

การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลง : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.advisor รณชัย รัตนเศรษฐ
dc.contributor.author ชัยวัฒน์ สุมังคะละ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:25:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7985
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษา และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 120 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (ฝึกผิวปากเป็นเพลง) และกลุ่มเปรียบเทียบ (ฝึกเป่าขลุ่ย) กลุ่มละ 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรี แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาด้านดนตรี และเครื่องมือวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด จำนวน 20 กิจกรรม ฝึกวันละ 45 นาที เป็นเวลา 20 วัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลงและกลุ่มที่ฝึกเป่าขลุ่ยมีคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างของคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีระหว่างเพศชายกับหญิง 3) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลง พบความแตกต่างที่ย่านความถี่ Theta บริเวณสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4 ย่านความถี่ Alpha สมองซีกซ้าย ณ ตำแหน่ง F3 และสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง FC6, F8 และ AF4 ในขณะที่กลุ่มเป่าขลุ่ยไม่พบความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าสมอง 4) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างกลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลงและกลุ่มที่ฝึกเป่าขลุ่ย พบความแตกต่างที่ย่านความถี่ Theta บริเวณสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4 และที่ย่านความถี่ Alpha บริเวณสมองซีกซ้าย ณ ตำแหน่ง F7 และสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ดนตรี -- การทดสอบ
dc.subject นักเรียนประจำ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject เชาวน์
dc.title การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลง : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternative Enhncing musicl intelligenc mong primry school students with whistling song ctivities: behviorl nd eeg study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aims of this research were to design a set of whistle-blowing activities to enhance the musical intelligence of primary school students, and then to study the results of using them as an activity package to enhance musical intelligence. The subjects were 120 students in Grade 5. They were randomly assigned to the experimental group (Practice whistling as music) and the comparison group (Practice the flute), 60 students per group. Research instruments included the whistle-blowing activity package, musical intelligence test, and an EEG machine. Data were analyzed by using one-way ANOVA. The results were as follows: 1) The whistle-blowing activity package consisted of two sets of activities, 20 practice sessions, 45 minutes a day for 20 days. 2) After the experiment, the group that practiced whistling as music and the group practicing flute had an increase in intelligence scores of music at the statistical significance level of .05; no gender differences were detected when male and female results were compared. 3) Concerning the electroencephalogram study, differences were found after training at theta frequency at the right frontal F4 electrode site, at alpha frequency at the left frontal F3 electrode site, and also at the right antero-fronto-central FC6, F8 and AF4 electrode sites in the group that practiced whistling as music, while the flute group did not show differences in brainwaves, when compared to before-training conditions. 4) After training, differences in theta frequency were found between groups at the right frontal F4 electrode site and at the alpha frequency at the left frontal F7 electrode site and at the right frontal F4 electrode site.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account