DSpace Repository

การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.advisor พูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.author กรรณิการ์ ปานนุช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:25:26Z
dc.date.available 2023-05-12T06:25:26Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7980
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการ ของศึกษานิเทศก์ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 รอบและวัดฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ 21 คน โดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต จัดลำดับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมแบบออนไลน์ด้วยระบบปฏิบัติการ OS:Linux, WEB: Apache, Script: PHP และ Database: MySQL และ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการจัดอันดับของผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการระหว่างศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษกับศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยการจัดอันดับ,ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าทฤษฎีรัฟเซตและ ค่าCVI สถิติทดสอบ ได้แก่ Kruskal-Wallis test, t-test แบบ One Sample Test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์มี 5 ด้าน (18 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) การบรรลุผลของการจัดการงานนิเทศการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) โลกทัศน์สู่ความเป็นสากล มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) การปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาตามบทบาทหน้าที่เฉพาะ มี 5 ตัวบ่งชี้ 4) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 5) คุณลักษณะส่วนตัวของศึกษานิเทศก์ มี 3 ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินฯ จำแนกความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์เป็น 5 ระดับตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเยี่ยม) 2. โปรแกรมประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์แบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI) จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 1 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินของผู้ใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60) และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3. ผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษสูงกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์มีความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการประเมินศึกษานิเทศก์
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ผู้นำทางการศึกษา
dc.subject การประเมิน
dc.title การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์
dc.title.alternative Development of the criteri for ssessing cdemic ledership cpbility of eductionl supervisor
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were (1) to develop criteria for assessing the academic leadership capability of educational supervisors using a modified three-round e-Delphi procedure; to develop an expert panel consensus measurement procedure using Rough Set Theory involving 21 experts; and to rank developed components with Analytic Hierarchy Process. (2) To develop an online program using Linux OS, WEB: Apache, Script: PHP, and Database: MySQL. (3) To compare average criteria scores between senior professional level educational supervisors and the professional level educational supervisor. Data were analyzed using percentage, mean rank, mean, standard deviation, Rough Set Theory, CVI, Kruskal-Wallis Test, t-test One Sample Test, and Mann-Whitney U test. The results were as follows: 1) The developed criteria for assessing the academic leadership capability of educational supervisors consisted of five components with eighteen indicators. The components were (1) achieved result (three indicators); (2) global mindset (four indicators); (3) role specific (five indicators); (4) interaction (three indicators); and (5) personal (three indicators). The assessment of the academic leadership capability of educational supervisors was categorized into five levels from 1 (strongly needing improvement) to 5 (excellent). 2) The developed online program for assessing the academic leadership capability of educational supervisors was judged effective to use (CVI = 1.00). The average score from users had the highest level (4.60) which was significantly higher than the specified criteria (p < .01). 3) The average criteria scores between the senior professional level educational supervisors and the professional level educational supervisor showed that the senior professional level educational supervisors had a higher score than the professional level educational supervisor (p < .01). The results confirm that the developed criteria are suitable for assessing the academic leadership capability of educational supervisors.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account