dc.contributor.advisor |
เอกวิทย์ มณีธร |
|
dc.contributor.author |
พัณณิตา พวงทับทิม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:14:59Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:14:59Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7955 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยเรื่อง “สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติไคสแควร (Chi-Square test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศหญิง มีจํานวน 211 ราย ร้อยละ 53.0 มีอายุ 26 -30 ปี มีจํานวน 186 ราย ร้อยละ 46.7 มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จํานวน 191 ราย ร้อยละ 48.0 มีระดับ การศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 293 ราย ร้อยละ 73.6 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จํานวน 164 ราย ร้อยละ 41.2 และมีสถานภาพโสด จํานวน 335 ราย ร้อยละ 84.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุความรุนแรงในครอบครัว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยในระดับมากว่าปัจจัยด้านการศึกษาเป็นสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.136 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการสื่อสารที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.76 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.202 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.75 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.126 และปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม และสังคมที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.35 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.244 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ระดับการศึกษาและสถานภาพมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยด้านสังคมมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 3 พบว่า ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 4 พบว่า ปัจจัยด้านการศึกษามีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 5 พบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม |
|
dc.subject |
ครอบครัว |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
ความรุนแรงในครอบครัว |
|
dc.title |
สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
|
dc.title.alternative |
The cuses of fmily violence: cse study of mung district, chchoengso province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The study, entitled “the causes of family violence, case study of Mueang district, Chachoengsao province”. The objectives are to study the behavior of youth violence and the factors that are correlated with the severity of the behavior of youth in these areas. Chachoengsao, using a questionnaire validated end off and confidence straight linear content. By collecting data with a sample number of 398 people, statistics that are used in the research include Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation and testing hypotheses by Chi-Square test. The study found that the most of respondents are women. There are 211 people within 53.0 percent, 26-30 years of age are 186 within 46.7 percent, income(10,000-20,000 baht) are 191 within 48.0 percent, Bachelor degree are 293 within 73.6 percent, employees are 164 within 41.2 percent and singles are 335 within 84.2 percent. From analysis of the factors of family violence found that the respondents agree with the factoare of these violence, the levels of educational background is 3.77; standard deviation is 1.136, the communication is 3.76; standard deviation is 1.202, the economy is 3.75; standard deviation is 1.126 values and the society is 3.35; standard deviation is 1.244. The first of summary found that personal factors including gender, age, income, occupation, education level, and relationship are related to the causes of the family violence in Mueang district, Chachoengsao province; statistical significance at the level of 0.05. The second of summary found that social factors is associated with the cause of the family violence in this area; statistical significant at the level of 0.05. The third of summary found that the economic is related to the cause of the family violence in this area; statistical significant at the level of 0.05. The forth of summary found that the educational factors are related to the causes of the family violence in this area; statistical significant at the level of 0.05. And the last summary found that the communication factor is related to the cause of the family violence in this area; statistical significant at the level of 0.05. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารงานยุติธรรมและสังคม |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|