DSpace Repository

กลยุทธ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.author มีลักษณ์ ชัยกิตติเจริญวุฒิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:57Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:57Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7947
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และวิธีการเข้าสู่ตําแหน่งผู้นําองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีและเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตําแหน่งผู้นําองค์กรปกครองท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์ของผู้สมัครตระกูลการเมือง คือ การเจาะลึกข้อมูลแต่ละพื้นที่เพื่อนําพามาเป็นนโยบาย ส่วนวิธีการเข้าสู่ตําแหน่งทางการเมืองของผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี คือ ผลงานที่ผ่านมา การสนับสนุนจากฐานเสียง คุณสมบัติและลักษณะส่วนตัว หัวคะแนน หรือคนที่ไว้ใจ การเข้าพบปะประชาชนและความเป็นกันเอง และการมีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ ผู้วิจัยได้นําข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีมาสร้างเป็น แบบสอบถาม แล้วนํามาสร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ทราบว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี จํานวน 400 คน นํามาวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) กําหนดนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ .05 เพื่อตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมีอยู่ 4 ปัจจัย ซึ่งมีความสําคัญแตกต่างกันลดหลั่นกันลงมา กล่าวคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลงานที่ผ่านมา (Past performance) รองลงมาคือ กลยุทธ์และวิธีการหาเสียง (Campaign strategy) แกนนําหรือหัวคะแนน (Canvasser) และระบบอุปถัมภ์และเครือญาติ (Patronage & Clientelism) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการดังนี้ Obtaining the vote= 2.130+.429Past Performance+.188 Canvasser +.214 Campaign Strategy +.177Patronage & Clientelism
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
dc.subject ผู้นำชุมชน
dc.title กลยุทธ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Strtegies nd methods of entry into locl government ofpoliticl cln in chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1. to study the strategies and method of entry into local government of a political clan in Chonburi Province, and 2. to study the factors that affect obtaining election votes of a political clan in Chonburi. This research used both quantitative and qualitative methodologies. Interviews with members of the political clan suggested that the strategy used by them was to use in-depth information within each location to develop policy. The factors that may help them gain entry into a political position is past performance include support from people who love and are loyal to the clan, a candidate’s personality, influence from canvassers or others trusted by the clan, accessibility to the candidate, and the family’s long history in the local area. The interviews were used to generate questions for a quantitative survey of local voters. The quantitative data were used to create a mathematical equation to determine the relative importance of factors related to obtaining of election votes. A sample of 400 potential voters in Chonburi Province were surveyed, and results were analyzed by multiple regression to address the objective and hypothesis of the research. The research results showed four factors that were significant (p<0.05) in obtaining votes. Most important was past performance of the specific candidate, followed by campaign strategy, influence of canvassers that helped support the candidate, and finally patronage and clientelism. The multiple regression equation can be expressed as: obtaining the vote = 2.130 +.429 past performance+ .188 canvasser +.214 campaign strategy +.177 patronage & clientelism).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การเมืองการปกครอง
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account