DSpace Repository

ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย-ญี่ปุ่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.author กิตติรัตน์ กิตยสิทธานาถ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:55Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7939
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมของพนักงานอัยการในลักษณะเปรียบเทียบ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสําเร็จในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมตลอดจนศึกษาถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้อํานาจพนักงานอัยการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินคดี สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถกําหนดมาตรการที่เหมาะสมแก่ประเทศไทยในการที่จะให้การดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการศึกษาพบว่า พนักงานอัยการไทยจะประสบปัญหาในเรื่องของการพิสูจน์ถึงความผิดที่ผู้กระทําผิด และกระทําความผิดเมื่อใด รวมไปถึงปัญหาเรื่องของเขตอํานาจการสอบสวน และเขตอํานาจศาล ประเด็นต่อมาพบว่าใน เรื่องของการดําเนินการในชั้นพนักงานสอบสวนซึ่ง การดําเนินการสอบสวนในคดีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศ ไทยนั้นไม่มีความแตกต่างไปจากคดีอาญาทั่วไป ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้นมักส่งผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ผู้วิจัยพบว่าพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตํารวจขาดความรู้ความเชี่ยวชาญโดยตรง ด้านสิ่งแวดล้อม ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อศึกษา เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นแล้วพบว่าการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองจึงเป็นผู้ตัดสินว่าการกระทําใดผิดกฎหมายแล้วจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจให้ดําเนินการ ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา และควรมีตัวบทกฎหมายสารบัญญัติเฉพาะเป็นหมวดหมู่ในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมมี ลักษณะแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป หากดําเนินการอย่างเดียวกัน ย่อมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการปกป้องกันและปกปักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชน โดยเหตุผลที่ว่าคดีสิ่งแวดล้อมนั้นก่อผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ไม่ใช่ ผู้เสียหายเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ในส่วนของการสอบสวนคดีสิ่งแวดล้อมผู้วิจัยเสนอให้กําหนดให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเจ้าของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยตรงเป็นพนักงานสอบสวนในคดีสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ นอกจากนี้ยังควรให้อํานาจพนักงานอัยการสามารถสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองในส่วนของคดีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อพิสูจน์ความมีผิดและบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา นอกจากนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าบรรดากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยควรมีลักษณะที่เป็นการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจําเลยมีความผิด เว้นแต่จําเลยจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการกระทําของจําเลยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบกิจการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบการอันอาจ ก่อให้เกิดมลพิษ ยังต้องดําเนินการป้องกันการก่อให้เกิดมลพิษตั้งแต่เริ่มต้นดําเนินกิจการควรมีเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงนั้น ๆ ร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวน อีกทั้งพนักงานอัยการในประเทศไทยก็ขาด ความรู้เชี่ยวชาญโดยตรงในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย จึงทําให้เป็นอุปสรรคในการรวบรวม พยานหลักฐานและฟ้องคดีต่อศาล ควรมีตัวบทกฎหมายสารบัญญัติเฉพาะในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เนื่องจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกระจัดกระจายอยู่ตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ มากเกินไปจนเป็นภาระในการดําเนินการของผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject กฎหมายเปรียบเทียบ
dc.subject กฎหมาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายมหาชน
dc.title ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย-ญี่ปุ่น
dc.title.alternative The study of comprison between the thi nd jpnese lws
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study are to study the comparison of problems about prosecutors’ environmental prosecution between Thailand and Japan that succeeds in environmental management and to study the constitution of the kingdom of Thailand , Public Prosecution Organ and Public Prosecutors Act, B.E. 2553, and other laws relating in environmental prosecution to determine the suitable rules for efficiency and effective environmental prosecution in Thailand. The result of the research shows that the problems of Thai prosecutors are proof of offender’s offense and proof of offense’s time, including the scope of the investigation and jurisdiction.The next issue is that, in the case of the investigating officer, the investigation of the current environmental case in Thailand is not different from the general criminal case. In fact, criminal cases related to the environment affect many people. The researcher found that investigators and police officers lack of environmental knowledge and expertise. These are obstacles to the investigation and collection of evidence in environmental cases. When these were compared to Japan, it was found that the environmental lawsuit of Japan, the administration or the governing body decides that any action is unlawful and then informs the police. The researcher proposed that the environmental trial law should be separated from the Criminal Procedure Code. There should be a law clause, a specific law, a category for environmental litigation. The environmental case is different from the lawsuit. If they are done the same, it does not achieve the purpose of protecting each other and protect the interests of the people. The reason is that environmental lawsuits affect many people not only single person or single group’s damage. In the case of the environmental investigation, the researcher proposed that the competent official of the state who directly owns the environmentally responsible agency is the investigator in the environmental case together with the police. It should also give the prosecutor the power to investigate further in the case of environmental cases in order to prove the guilt and innocence of the accused. In addition, the researchers found that environmental laws in Thailand should be presumed to be guilty of misconduct. Unless the defendant can prove that the defendant's actions do not cause any impact on the environment to avoid actions of the defendants that cause any impact on the environment and the operator may cause pollution. Pollution must be prevented from the beginning of operation. In addition, there should be staff involved. Experts from the ministry involved in the investigation. The prosecutor in Thailand also has direct knowledge of the prosecution of environmental issues in Thailand. Therefore, it is a drawback to gather evidence and sue. Moreover, there should be a specific law on the environmental law in Thailand. Since the environmental laws in Thailand are scattered by various statutes, it is a burden for the practitioners to carry out their duties in relation to environmental law.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายมหาชน
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account