dc.contributor.advisor |
Xioyn Zhou |
|
dc.contributor.advisor |
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย |
|
dc.contributor.advisor |
วิมลรัตน์ จตุรานนท์ |
|
dc.contributor.author |
เซียวเหยียน,โจว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:14:54Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:14:54Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7929 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ประชากร ได้แก่ นักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย และได้ลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดภาษาไทยเชิงประยุกต์ ของมหาวิทยาลัยฉู่ฉงนอร์มอล ปีการศึกษา 2560 เทอม 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบความสามารถทางการพูดภาษาไทย 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจับแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอน ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทย ของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ หลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน เนื้อหา ขั้นตอนของกิจกรรม การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบ ซึ่งมีผลประเมินคุณภาพรูปแบบ การสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ( = 4.10, SD = 0.13) 2. รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเห็น ได้จาก 2.1 ความสามารถทางการพูดภาษาไทยหลังการทดลองของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาจีนกลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อวิเคาระห์รายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการพูดภาษาไทย ด้านการออกเสียง ด้านไวยากรณ์ ด้านคำศัพท์ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา ด้านความเข้าใจ ทั้ง 5 ด้านของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 การรับรู้ความสามารถของตนเองหลังการทดลองของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลอง ที่เรียนตามรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของ นักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาจีนกลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.3 ความคิดเห็นของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.08, SD = 0.37) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา |
|
dc.subject |
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก |
|
dc.subject |
ภาษาไทย--การสอนตนเอง |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
|
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง |
|
dc.title.alternative |
The development of thi lnguge instructionl model to enhnce thi speking bility of chinese students bsed on self-efficcy theory nd constructivism theory |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were: to develop an instructional model for a Thai Language teaching to enhance Thai speaking ability of Chinese students based on self-efficacy theory and constructivism theory, to validate the efficiency of the developed instrucional model. The subjects of this research were 30 students at the School of Foreign Language and Literature, Chu xiong Normal University in the second semester of academic year 2017. The research instruments consisted of; 1) lesson plan according to the developed model 2) Thai language speaking ability test 3) the self-efficacy test, and 4) the attitude inventory toward the instructional model. The reaearch pocedure was divided into 2 phases; phase 1, developing of instructional model, phase 2, evaluated of the efficiency of the developed instrucional model. The findings of the reaearch were as follows: 1. The Thai language instructional model to enhance Thai speaking ability of Chinese students based on self-efficacy theory and constructivism theory was developed,it consisted of the following components; principles, objectives, contents, instructional processes, and evaluation. It was evaluated at haighly appropriate with the mean and standard deviation of 4.10 and 0.13 respectively. 2. The efficiency of the developed instrucional model was found that; 2.1 The average scores of Thai speaking ability of Chinese students of experimental group after learning through the developed instructional model was higher than the controlled group who learning through the regular instructional at .05 level of significance. The experimental group had higher scores on Thai speaking ability in the aspect of Thai pronunciation, vocabulary used, speaking fluency and langusge comprehension and grammatical structure than did the control group. 2.2 The average scores of self-efficacy in Thai speaking of the experimental group after learning through the developed instructional model were higher than the control group at the significant level of .05. 2.3 The average scores of the attitude of students in the experimental group after learning through the developed instructional model was at highly appropriate with the mean and standard deviation of 4.08 and 0.37 respectively. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
หลักสูตรและการสอน |
|
dc.degree.name |
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|