DSpace Repository

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisor วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
dc.contributor.author พิชชานันท์ โชติวรรธอนันต์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:52Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:52Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7917
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 กระทรวงศึกษาธิการ ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้แบบแผนการวิจัย One group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย แผนการจัด การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) ชื่อกิจกรรม 2) คำนำ 3) คำชี้แจงสำหรับครู 4) คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 5) สาระสำคัญ/จุดประสงค์ 6) ใบความรู้/ ใบกิจกรรม 7) แบบทดสอบ 8) แผนการจัดการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย พบว่า พฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้หลังเรียน ( = 23.61, SD = 2.53) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 15.42, SD = 3.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพฤติกรรมสุขภาพด้านเจตคติหลังเรียน ( = 74.50, SD = 6.02) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 46.22, SD = 6.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมสุขภาพด้านการปฏิบัติหลังเรียน ( = 42.09, SD = 5.08) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 23.43, SD = 6.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานด้วยภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.63, SD = 0.31) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( = 4.73, SD = 0.31) 2 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 4.64, SD = 0.40) 3 ด้านเนื้อหา ( = 4.58, SD = 0.32)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การเรียนรู้
dc.subject การสอนด้วยสื่อ
dc.subject วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.subject ภูมิปัญญา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.title การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย
dc.title.alternative The development of lerning ctivity using community bsed instruction to promote helth behviorsin ccordnce with thi wisdom
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were: 1) to develop a learning activity package developed on the local wisdom in the community; 2) to study the health behaviors of the students through the learning activity package based on the local wisdom in the community; 3) to study the students’ satisfaction towards the use of learning activity package developed based on the local wisdom in the community. The samples in this study were 32 lower secondary school students who were participating in the 2nd semester in the 2017, Academic year. Purposive sampling technique was used to identity the participants in this study. The school is under the Secondary Education Service Area 10, Ministry of Education. The research design was the one group pretest-posttest design. The research tools consisted of the learning activities based on local wisdom community, lesson plans, an achievement test, and a questionnaire surveying students’ satisfaction level towards the learning activity package based on the local wisdom in the community. The data was analyzed using the percentage, Mean ( ) and Standard Deviation (SD). The Mean scores and Standard Deviation were calculated and t-tesr was analyzed to determine whether the mean score of the pre-test and post-test were significantly different. The result revealed that 1. The learning activity package based on the local wisdom in the communitycontains: 1) the title of the activity; 2) the introduction; 3) the teacher's instruction manual; 4) the student's instruction manual; 5) the basic concept/ the objective; 6) the text and exercise; 7) the test; 8) the lesson plan 2. The results of the study in term of health behavior knowledge showed that there are significant differences between pre-test and post-test at 0.01 level. The Mean score of the sample in the post-test was 23.61, with Standard Deviation of 2.53, whereas the Mean score on the pre-test was 15.42 with Standard Deviation of 3.15. In addition, the results of the study in term of health behavior practical action showed that there are significant differences between pre-test and post-test at 0.01 level. The Mean Score of the sample in the post-test was 42.09, with Standard Deviation of 5.08, whereas the Mean Score on the pre-test was 23.43 with Standard Deviation of 6.35. 3. A comparison of the students’ satisfaction indicated that the overall of the satisfaction toward the learning activity package based on the local wisdom in the community was very satisfied at 4.63, as the Mean Score, with Standard Deviation of 0.31. In addition, when the researcher considered the details of this study, the result of the satisfaction revealed that: 1) the satisfaction toward the benefit of learning activity package based on the local wisdom in the community was at 4.73, with Standard Deviation of 0.31; 2) the satisfaction of the activity was 4.64, with Standard Deviation of 0.40; 3) the satisfaction of the content was 4.58, with Standard Deviation of 0.32.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account