dc.contributor.advisor |
สุเมธ งามกนก |
|
dc.contributor.author |
เอกราช นวศรีพงศ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:13:03Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:13:03Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7892 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัญหาและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรม ในเขตนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดตามการกำหนดหลักเกณฑ์ โดยจำแนกตามวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้าน การบริหารทั่วไปโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารบริษัทอุตสาหกรรมผู้รับผิดชอบงานสัมพันธ์ชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานสัมพันธ์ชุมชนของโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบ มีดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการพบว่า ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหาความรู้ทางด้านวิชาการของนักเรียนด้านการบริหารงบประมาณพบว่า ปัญหาสำคัญที่สุดคือขาดแคลนเงินอุดหนุน ทุนการศึกษาและงบประมาณในการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพิ่มเติมด้านการบริหารงานบุคคลพบว่า ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหาการขาดแคลนครูด้านการบริหารทั่วไปพบว่า ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหาขาดแคลนแหล่งเรียนรู้ สื่อ และอุปกรณ์ แนวทางการมีส่วนร่วมที่พบ มีดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการควรจัดการเรียนการสอนชดเชยกับนักเรียนที่เข้าอบรมวิชาการ โดยในการจัดอบรมควรจัดเป็นกลุ่มย่อย และจัดอบรมด้านอาชีพ ด้านการบริหารงบประมาณ ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ และงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสถานที่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนด้านการบริหารงานบุคคลควรมี การสนับสนุนบุคลากรให้มาสอนในสถานศึกษา และมุ่งพัฒนาแก้ปัญหาให้ครู และผู้บริหาร ด้านการบริหารทั่วไป ควรสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ สื่อ และอุปกรณ์อย่างเต็มที่ และมีการติดตามบำรุงรักษาอย่างจริงจัง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร |
|
dc.subject |
การมีส่วนร่วม |
|
dc.subject |
การศึกษาขั้นมัธยม -- การบริหาร |
|
dc.title |
ปัญหาและแนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด |
|
dc.title.alternative |
Problems nd guidelines for prticiption in secondry school dministrtion under the office of the secondry eduction region 18 in mp t phut industril estte |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to study the problems and to present guidelines for improving the participation of school administration in secondary schools under the office of the Secondary Education Region 18, in Map Ta Phut Industrial Estate. The method of decentralization of administration and management of education in this study was investigated in four aspects: Academic Management, Budgeting, Human Resource Management and General Management. In-depth structured interviews was employed to collect the data in this study. The sample were Industrial Manager, Head of corporate social responsibility, Educational Administrator and Community Relations Supervisor. Purposive sampling technique was used to identify 14 people who were the key participants. The research found out that: The major problems are as follows: 1. The academic management. The most important problem is the student's academic knowledge. 2. The budget management. The most important problem is the lack of subsidies, scholarships and activities. 3. The human resource management. The most important problem is the shortage of teachers. 4. The general management. The most important problem is the lack of learning center, learning media and devices. The following guidelines are given: Schools should arrange some extra academic training course for students. Career training center should be established. Schools should allocate enough budget to purchase accessory learning media and learning facilities. Schools should also offer scholarships to students. Human resource department should provide assistance which help teachers to solve their problems. Schools should ensure sufficient, learning resources, learning media and devices. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|