dc.contributor.advisor |
สุชาดา กรเพชรปาณี |
|
dc.contributor.author |
ณัฐนันท์ วารีเศวตสุวรรณ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:12:59Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:12:59Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7876 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับแก้ขีดจำกัดควบคุม ตรวจสอบสมรรถนะของแผนภูมิควบคุม และการตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของ GDM โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) ปรับแก้แผนภูมิควบคุม ตรวจสอบประสิทธิภาพของวิธีประมาณค่าสัดส่วนแบบช่วงที่มีการแจกแจงทวินาม วิธี W และวิธี ACP จำลองข้อมูล 3 สถานการณ์ 42 เงื่อนไข เกณฑ์พิจารณาคือ ค่า CP และค่า AW 2) ตรวจสอบสมรรถนะของแผนภูมิควบคุม p และแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ จำลองข้อมูล 2 สถานการณ์ 21 เงื่อนไข เกณฑ์พิจารณาคือ ค่า 3) นำแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ตรวจสอบเฝ้าระวัง และหาระดับการเตือนของอุบัติการณ์ GDM ร่วมกับกฎความไวสำหรับแผนภูมิ จากข้อมูลทุติยภูมิ GDM ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 – ม.ค. 2559 (52 เดือน) โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ประสิทธิภาพของวิธีประมาณค่าสัดส่วนแบบช่วง: วิธี ACP มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธี W ให้ค่า CP ผ่านเกณฑ์สัมประสิทธิ์ช่วงความเชื่อมั่นที่กำหนดทุกสถานการณ์ และให้ค่า AW น้อยกว่าวิธี W ทุกสถานการณ์ ยกเว้นขนาดตัวอย่าง 500 และค่าสัดส่วนของ GDM .10 และ .20 2) สมรรถนะของแผนภูมิควบคุม: แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้มีสมรรถนะดีกว่าให้ค่า มากกว่าแผนภูมิควบคุม p ทุกสถานการณ์ 3) การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของ GDM โดยแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ พบว่า 3.1) จุดออกนอกขีดจำกัดควบคุม 1 จุด คือ เดือน พ.ย. 2558 กระบวนการเกิดความผิดปกติขึ้น 3.2) ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยนำปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ของ GDM มาวิเคราะห์พาเรโตด้วยกฎ 80/20 พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญมากเกือบร้อยละ 80 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ และภาวะน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์ แสดงให้เห็นว่าเกิดจากสาเหตุที่ระบุได้ (Assignable causes) จึงตัดข้อมูลเดือน พ.ย. 2558 ออก 3.3) ปรับเส้นขีดจำกัดควบคุม พบว่า 3.3.1) ทุกจุดอยู่ในขีดจำกัดควบคุม แสดงว่ากระบวนการปกติ 3.3.2) ตรวจหาระดับการเตือน พบจุดที่ตกนอกขีดจำกัดเตือนบน 3 จุด คือ เดือน ต.ค. 2554, ม.ค. 2555 และเม.ย. 2558 ดำเนินการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการออกนอกขีดจำกัดควบคุมในอนาคต |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เบาหวานในสตรีมีครรภ์ |
|
dc.subject |
เบาหวาน -- โรค |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.title |
การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม P ปรับแก้ |
|
dc.title.alternative |
Monitoring the incidence of gestrtionl dibetes mellitus (gdm) using djusted p control chrt |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to examine the effectiveness of using adjusted p control charts on controlling Gestational Diabetes Mellitus (GDM). Three steps were used: (1) adjust control charts and compare the relative efficiency of two methods for interval estimation, W and ACP, by using three simulated situations, each with 42 conditions; (2) employ criteria to compare the performance of conventional p control charts with adjusted ones using two simulated situations, each with 21 conditions; and (3), use adjusted p control charts to monitor the incidence of GDM based on secondary data from the years 2011 through 2016 from the Sakonnakorn Hospital. The results indicated that: (1) the efficiency of interval estimation with the ACP method was better than the W method, as shown by comparing confidence interval criteria for all situations; (2) with regard to the performance of control charts, the adjusted p control chart had greater values than the p control chart for all situations; (3) concerning the GDM incidences monitored by the adjusted p control chart, (a) there was only one point, November 2015, detected to be out-of-control; (b) investigating the relevant causes, by applying the Pareto 80/20 rule, there were three particularly salient GDM risk factors, locating almost 80 percent of the cases i.e., 30 years or more of gestation, obesity before pregnancy, and overweight before pregnancy; (c) after adjusting new control limits, all points lay within the action limits which indicated that the process was under control. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปร.ด. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|