DSpace Repository

การพัฒนามาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล : การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author พงษ์ศักดิ์ ศรุติปกรณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:58Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7873
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การลงทุนในหุ้นสามัญมีความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริง อาจคลาดเคลื่อน ไปจากที่คาดหวังว่าจะได้รับ ปัจจุบันการประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล ใช้คำแนะนำของสถาบันที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคลและพัฒนาโปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ลงทุนในหุ้นสามัญชาวไทย ในปี พ.ศ. 2561 อายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 905 คน การวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างข้อคำถามและการวิเคราะห์คุณภาพของข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 850 คน 2) การจัดทำคลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง 3) การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง และ 4) การเปรียบเทียบค่าความเที่ยงของมาตรวัดระหว่างมาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคลที่พัฒนาขึ้น (RAS) กับแบบมาตรฐานในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนประเภทบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับ พ.ศ. 2557 ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ (SEC) ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 คน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล ประกอบด้วยข้อคำถามที่มีคุณภาพผ่านการวิเคราะห์ตามหลักการทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ Graded Response Model จำนวน 26 ข้อ จำแนกเป็นข้อคำถามด้านความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 19 ข้อ และข้อคำถามด้านความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 7 ข้อ 2) คลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง มีข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 26 ข้อ ข้อมูลที่บันทึกในคลังข้อคำถามประกอบด้วย ข้อคำถาม ตัวเลือกรายการคำตอบ ค่าพารามิเตอร์ความชัน ค่าพารา-มิเตอร์เทรซโฮลด์ และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่า 3) โปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บสำหรับมาตรวัดความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานในระดับเหมาะสมมาก 4) ผลการเปรียบเทียบค่าความเที่ยงระหว่างมาตรวัด ปรากฏว่า RAS มีค่าความเที่ยงสูงกว่า SEC แต่ไม่มีความแตกต่างกับ SEC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ RAS มีค่าความเที่ยงมากกว่า .70 สรุปได้ว่า มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล รูปแบบการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ความเสี่ยง
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject การลงทุน -- การบริหารความเสี่ยง
dc.title การพัฒนามาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล : การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ
dc.title.alternative The development of risk - ssessment scle for individul common stock investors: computerized web ppliction
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Investment in common stock has a risk of return in which the actual return may deviate from the expected. Currently, risk assessment for individual common stock investors uses guidance from institutions that supervise and develop the capital market. The purposes of this research were to develop a risk assessment scale (RAS) for individual common stock investors by using a computerized web application. A sample of 905 Thai investors participated in the study, aged 20 and above in 2018. Four phases were involved the study: (1) the construction of RAS, the risk assessment scale; (2) the formation of an item bank; (3) the development a web application using Computerized Fixed-form Testing (RAS-CFT); and (4) a comparison of the risk assessments determined by using the new web application with those obtained from a traditional source, the Office of the Securities and Exchange Commission (SEC). The research results revealed that (1) The new RAS scale and the item bank were of good quality, as determined by application of the Graded Response Model. RAS scale composed of 19 items for the ability to take risk, and 7 items for the willingness to take risk. (2) The item bank had 26 good quality items. Each item composed of stem, choices, slope parameter, threshold parameters, and standard error of estimations. (3) The web application was well accepted by experts and everyday users. (4) The reliability of the new RAS scale was higher than the results obtained from the SEC, but not statistically significantly different. It was concluded that the new web-based application for risk assessment was an effective and convenient alternative for individual common stock investors.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account