dc.contributor.advisor |
พีร วงศ์อุปราช |
|
dc.contributor.advisor |
เสรี ชัดแช้ม |
|
dc.contributor.author |
พนิดา กิตติธำรงกุล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:12:58Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:12:58Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7872 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
อารมณ์ด้านการตื่นตัวเป็นสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายในของมนุษย์เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า จนเกิดการตอบสนองทางอารมณ์ด้านการตื่นตัว 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสงบและลักษณะตื่นเต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการตื่นตัวเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ ด้านการตื่นตัว มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านการตื่นตัว และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 14 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะสงบและลักษณะตื่นเต้น 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยมีอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้นมากกว่าผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพแบบกลาง ๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบและลักษณะตื่นเต้นระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ตำแหน่ง PO7, PO5, POz, PO6, PO8, O1, Oz และ O2 ส่วนผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยกับแบบกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ตำแหน่ง P3, Pz และ P2 และบริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ตำแหน่ง PO7, POz, PO4 และ Oz และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3, F1, Fz, FC1, FCz, FC2, FC4 และ FC6 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง C5 ถึง C4, CP5 ถึง CP6, P3 ถึง P8 และ TP8 และบริเวณ เปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง PO5 ถึง PO8 สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพต่างกันมีอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้น ขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้นแตกต่างกัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
อารมณ์ |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
ความแตกต่างทางเพศ |
|
dc.title |
ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ |
|
dc.title.alternative |
The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl rousl of thi words nd digitized sounds: behviorl nd event-relted potentil study |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Arousal emotion was a state of internal change when was stimulated by stimuli leading to emotional responses: calm and excited. The objectives of this research were to 1) design emotionally arousing Thai words and digitized sound tasks appropriate for young adults, 2) study emotional arousal behavior and brainwave patterns during the visualization of Thai words and the listening of digitized sounds, and 3) compare emotional arousal behavior and brainwaves between genders and personalities. Experimental groups were comprised of 80 participants in the academic year 2017. Experimental equipment included experimental activities, the SelfAssessment Manikin (SAM) scale, and a NeuroScan electroencephalography device. Data were analyzed using two-way ANOVA. The results were as follows: 1. The emotional arousal Thai words and digitized sound tasks consisted of two blocks, each block was composed of 14 stimulus designed to activate calm and excited emotions. 2. When presetned with the tasks, young adults with an extravert personality had a greater excited emotional arousal than did those with ambivert personality type (p<.05), and there was also interaction betweengenders and personalities (p<.05). 3. The brainwaves in young adults while undertaking the tasks were significantly different (p<.05) between genders at the occipital lobe in the electrode sites: PO7, PO5, POz, PO6, PO8, O1, Oz and O2and, when compared between extravert and ambivert personalities, there were differences in brainwaves at the parietal lobe in electrode sites: P3, Pz and P2, the occipital lobe in electrode sites: PO7, POz, PO4 and Oz. There was an interaction between gender and personality on brainwaves at the frontal lobe in electrode sites: F3, F1, Fz, FC1, FCz, FC2, FC4 and FC6, the parietal lobe in electrode sites: C5, C4, CP5, CP6, from P3 to P8 and TP8, the occipital lobe in electrode sites: from PO5 to PO8. It was concluded that young adults with different personalities exhibited varied excited arousal emotions when visualizing selected Thai words and listening to selected digitized sounds. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปร.ด. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|