dc.contributor.advisor |
ฉัตรกมล สิงห์น้อย |
|
dc.contributor.advisor |
สุรีพร อนุศาสนนันท์ |
|
dc.contributor.advisor |
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร |
|
dc.contributor.author |
ดลภา พศกชาติ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:08:02Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:08:02Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7824 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม และภาพลักษณ์ทางกายของตนเองและกิจกรรมทางกายระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูงและผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่อาสาสมัครในงานวิจัยนี้เป็นนิสิต จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 18.97, (SD = 1.09) โดยนิสิตทั้งหมดตอบแบบสอบถามประสบการณ์ในการออกกำลังกายก่อนถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นทำการฝึกตามโปรแกรมจินตภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ประกอบด้วย ฝึกจินตภาพ 6-10 นาที และออกกำลังกาย 50 นาที โดยการให้ผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูง (กลุ่มที่ 1) และผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ (กลุ่มที่ 2) ทำตามขั้นตอน คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ตามด้วยการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ออกกำลังกายแล้วตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นโดยการออกกำลังกายตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายตามด้วยการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวัดความแปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measures) และการวัดความแปรปรวนแบบสองทางวัดซ้ำ (Two way ANOVA repeated with measures) จากนั้นทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและกิจกรรมทางกายไม่มีความแตกต่างกัน หลังจากฝึกจินตภาพ ตั้งแต่ช่วงก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 [(F = .66, p = .52, (F = 2.65, p = .07)] ตามลำดับ แต่ภาพลักษณ์ทางกายมีความแตกต่างกันระหว่างสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 8 (t = 3.11,3.18) และสัปดาห์ที่ 4 กับสัปดาห์ที่ 8 (t = 3.12,3.18) ซึ่งแสดงว่า การฝึกจินตภาพไม่ทำให้ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและกิจกรรมทางกายดีขึ้น แต่มีภาพลักษณ์ทางกายดีขึ้นส่วนการเปรียบเทียบการฝึกจินตภาพของกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำและสูงในระยะก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 พบว่า มีความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน [(F = .29, p = .58), (F = .13, p = .71)] ตามลำดับ แต่ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างระยะเวลาการทดลอง (F = 6.48, p = .00) ในขณะที่กิจกรรมทางกายมีความแตกต่างกัน (F = 199.98, p = .00) รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลา (F = 43.06, p = .00) แสดงว่า การฝึกจินตภาพทำให้ภาพลักษณ์ทางกายที่ดีขึ้น และหลังจากฝึกจินตภาพไปแล้วในกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายที่สูงและต่ำความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน แต่มีพัฒนาการตามระยะเวลาการทดลอง และมีกิจกรรมทางกายลดลง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การฝึกจิต |
|
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
|
dc.title |
ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม ภาพลักษณ์ทางกายและกิจกรรมทางกาย |
|
dc.title.alternative |
Effects of imgery on socil physique nxiety, body imge nd physicl ctivity |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the effect of imagery on social physique anxiety, body image and physical activity between highly experienced and low experienced exercisers. The subjects were 80 volunteer students, average age was 18.97, (SD = 1.09). The subjects were asked to complete 3 questionnaires [(The social physique anxiety scale; SPAS Thai version) (Pasokchat & Vongjaturapat, 2014); Thai version of the multidimensional bodyself relations questionnaire-appearance scales (MBSRQ-AS) (Pasokchat & Vongjaturapat, 2017)and Thai version of Godin-shephard leisure-time physical activity questionnaire: GSLTPAQ) (Sriramatr, 2014)]. They were then divided into two groups of 40 students by simple random sampling (high experienced of exercise and low experienced of exercise). The experimental process 30 minster was conducted within 8 weeks (60 minutes included 6-10 minutes on imagery practice and exercise for, time per week). The sequence of experiment were set toexperiment group 1, in the first 4 week, subjects practiced imagery exercise first then followed by exercise, in the week 5-8, they exercise first then followed by imagery exercise. On the opposit group 2, in the first 4 week, they exercised first then followed by an imagery practiced, in week 5-8, they practiced imagery first then followed by exercise. The data was analyzed using the One way ANOVA with repeated measures, Two way ANOVA with repeated measures and LSD. The results revealed that after practicing an imagery, the social physique anxiety and physical activity was not significant difference [(F = .66, p = .52), (F = 2.65, p = .07)]. The body image was statistically significant different (F = 3.16, p = .04). Between the group of low and high experiences exercisers, there were no significantly different on social physique anxiety and body image were found [(F = .29, p = .58), (F = .13, p = .71)], but there was a significant difference on the physical activity (F = 199.98, p = .00). Also the research found the time of continuous affected the result by social physique anxiety periods decreased and body image progressively increased (F = 43.06, p = .00). |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|