DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี Hglm วิธี Mimic และวิธี Bayesian

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.author สุมาลี ถามั่งมี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7807
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ NT ทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี BAYESIAN และ 3) เปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี BAYESIAN ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นผลการตอบข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านภาษา 2) ด้านคำนวณ และ 3) ด้านเหตุผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสระแก้ว จำนวน 2,000 คน ที่เข้าทดสอบ NT จากสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ ด้วยโปรแกรม Xcalibre Version 4.2.2 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยของค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) ทั้งฉบับอยู่ในระดับค่อนข้างดี สามารถจำแนกผู้สอบได้ดี มีค่าความยากของข้อสอบ (b) ทั้งฉบับอยู่ในระดับยาก และค่าโอกาสการเดาของข้อสอบ (c) ทั้งฉบับเฉลี่ยไม่เกิน .30 2. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 3 ด้าน โดยด้านภาษา วิธี HGLM ตรวจพบ DIF มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมา วิธี BAYESIAN คิดเป็นร้อยละ 23.33 และวิธี MIMIC คิดเป็นร้อยละ 3.33 ส่วนด้านคำนวณ วิธี MIMIC ตรวจพบ DIF มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 รองลงมา วิธี BAYESIAN คิดเป็นร้อยละ 20 และวิธี HGLM คิดเป็นร้อยละ 16.67 และด้านเหตุผล วิธี HGLM ตรวจพบ DIF มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมาคือวิธี MIMIC และวิธี BAYESIAN ตรวจพบ DIF เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 36.67 3. ผลการเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 3 ด้านปรากฏว่า ด้านคำนวณ วิธี HGLM ตรวจพบ DIF น้อยกว่าวิธี MIMIC และวิธี BAYESIAN คิดเป็นร้อยละ 10และ 3.33 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านภาษาและด้านเหตุผล วิธี HGLM ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี MIMIC และวิธี BAYESIAN คิดเป็นร้อยละ 26.67, 20, 6.67 และ 20 ตามลำดับ ส่วนวิธี MIMIC ตรวจพบ DIF น้อยกว่า วิธี BAYESIAN ในด้านภาษา คิดเป็นร้อยละ 20 วิธี MIMIC ตรวจพบ DIF มากกว่า วิธี BAYESIAN ในด้านคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 6.67 และวิธี MIMIC ตรวจพบ DIF เท่ากับ วิธี BAYESIAN ในด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 36.67
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ข้อสอบ -- ความเที่ยง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ข้อสอบ
dc.title การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี Hglm วิธี Mimic และวิธี Bayesian
dc.title.alternative A comprison of the differentil item functioning for ntionl test item t the grde three level using hglm, mimic, nd byesin methods
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to analyze the item quality of three subjects of National Test (NT), 2) to examine the Differential Item Functioning (DIF) of NT tests using HGLM, MIMIC and BAYESIAN methods, and 3) to compare performance of differential Item functioning NT tests using HGLM, MIMIC, and BAYESIAN methods by using the secondary data of the results from NT items for academic year 2011 across according to three subjects from 2000 Grade three students. The item quality was analyzed according to three parameters using Xcalibre Version 4.2.2. Results were as follows. 1. The NT for Grade 3 students on three subjects had a fairly good level of the discrimination parameter value (a), had a difficulty level of difficulty parameter value (b), and the guessing parameter value (c) did not exceed .30. 2. The results of the examination of DIF of the NT items from the grade 3 students across three subjects were shown as follows: For literacy, the HGLM was found to be the most DIF item and it could account for 30%, followed by the BAYESIAN method at 23.33% and MIMIC method at 3.33%, respectively. For numeracy, the MIMIC method was found to be the most DIF test and it could account for 26.67%, followed by the BAYESIAN method at 20%, and the HGLM method at 16.67%. For reasoning, the HGLM was the most DIF test and it could account for 56.67%, followed by the MIMIC and the BAYESIAN methods at 36.67%. 3. The results of the comparison of DIF of the NT items the grade 3 students across three subjects indicated that the HGLM method was better than the MIMIC method in terms of DIF on literacy and reasoning ability and the HGLM method could account for 26.27% and 20%, respectively. The HGLM method was better than the BAYESIAN method in terms of DIF on reasoning and literacy ability and the HGLM method could account for 20 % and 6.67%, respectively. The MIMIC method was better than the BAYESIAN method in terms of DIF on numeracy and it could account for 6.67% but The MIMIC method was worse than the BAYESIAN method in terms of DIF on literacy and it could account for 20%. For reasoning ability, both methods did not differ but the HGLM method was worse than the MIMIC and BAYESIAN methods in terms of DIF on numeracy ability that could account for 10% and 3.33%, respectively.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account