dc.contributor.advisor |
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม |
|
dc.contributor.advisor |
เสรี ชัดแช้ม |
|
dc.contributor.author |
ศักดิ์ชัย จันทะแสง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:07:58Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:07:58Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7804 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การจัดคลังข้อสอบเป็นการจัดการข้อสอบให้เป็นระบบ หมวดหมู่ พร้อมสำหรับการนำไปใช้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการที่พัฒนาขึ้นกับวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบถ่วงน้ำหนักที่มีการบังคับ โดยใช้สถานการณ์จำลองข้อมูล ในด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ ได้แก่ ค่าความลำเอียงเฉลี่ย และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสอง ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon และด้านประสิทธิภาพของการใช้ข้อสอบ ได้แก่ ข้อสอบที่มีการแสดงมากเกินไป ข้อสอบที่มีการใช้น้อยเกินไป อัตราการทับซ้อนของข้อสอบ และการแจกแจงอัตราการแสดงข้อสอบ ด้วยการวิเคราะห์ Chi-Square 3) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ ในรูปแบบ Web Application และ 4) เปรียบเทียบความสามารถของผู้สอบแต่ละระดับชั้นของค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามเพศและความสามารถด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) วิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) แบ่งคลังข้อสอบเป็น 4 ชั้น ตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วง (2) จัดสมดุลเนื้อหาในแต่ละชั้นของคลังข้อสอบตามสาระการเรียนรู้ที่ออกข้อสอบ และ (3) ควบคุมการแสดงข้อสอบด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 2) วิธีการจัดคลังข้อสอบตาม ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา มีประสิทธิภาพสูงกว่า วิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบถ่วงน้ำหนักที่มีการบังคับ 3) การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติในรูปแบบ Web Application สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานในระดับดี และ 4) ความสามารถด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีผลต่อความสามารถของผู้สอบแต่ละระดับชั้นของค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศไม่มีผลต่อความสามารถของผู้สอบ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
แบบทดสอบ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
ข้อสอบ |
|
dc.title |
การพัฒนาวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา สำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ |
|
dc.title.alternative |
Development of item pool strtegies by using intervl -prmeter strtifiction with content blncing for multidimensionl computerized dptive testing |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The item pools strategy is a procedure for organizing and categorizing test items so as to be ready for use. This research aimed to (1) develop the interval a-parameter stratification with content balancing item pools strategy; (2) compare the efficiency of the developed strategy with the constraint-weighted a-stratification method using a simulation scenario of test-takers’ estimative efficiency including average bias and root mean square error (RMSE) by using then Wilcox Test, and item utilizable efficiency including overexposed items, underutilized items, item overlap rate, and item exposure rate distribution, using Chi-square tests; (3) develop a multidimensional computerized adaptive testing program in a web application platform; and (4) compare test taker performance in each competency level of the discriminative power of the Grade 12 O-NET mathematics by gender and by mathematical ability. The sample involved 80 Grade 12 students in academic year 2017 of the Secondary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Two-way ANOVA was used to analyze the data. The results showed that (1) there were three steps in the interval a-parameter- stratification with content balancing item pools strategy: first, dividing item pools into four class intervals by a-parameter stratification; second, balancing of each class of the item pools according to the subject matter of the test; third, controlling item exposure with stratified random sampling; (2) the developed strategy with the test taker performance in each competency level of the discriminative power and content balancing method was more efficient than the constraint-weighted a-stratification method; (3) the multidimensional computerized adaptive testing program for web application for Grade 12 O-NET Mathematics developed in the present study had a good level of usability; and (4) the comparison of test taker performance in each competency level of the discriminative power of the Grade 12 O-NET was significantly affected by the mathematical ability at the .01 level, but gender did not affect test taker performance. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|