DSpace Repository

การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยเชิงจิตวิทยาในกลุ่มกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.advisor ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.author สโรชา ตันติไพจิตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:57Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:57Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7798
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจำแนกของตัวแปรด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงระหว่างกลุ่มผู้ที่เลือกและไม่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เลือกและไม่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 412 คน แบ่งเป็นกีฬาทั่วไป 208 คน กีฬาที่มีความเสี่ยง 204 คน เพศชาย 253 คน เพศหญิง 159 คน คัดเลือกโดยพิจารณาเลือกศึกษากกับกลุ่มตัวอย่าง ที่รู้ชัดว่าเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงโดยไม่อิงความน่าจะเป็น และใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่โดย เลือกกลุ่มเป้าหมายที่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงในขณะเดียวกันก็ประยุกต์ใช้วิธีการจับคู่แบบ 1:1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด ประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ 3) แบบวัดทัศนคติในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง 4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง 5) แบบวัดแรง สนับสนุนทางสังคมในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (2 Groups discriminant analysis) และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสำหรับสองกลุ่ม (2 Groups MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง สามารถจำแนกกลุ่มที่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงออกจากกลุ่มที่ไม่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และบุคลิกภาพ ทัศนคติการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเลือกเล่น กีฬาที่มีความเสี่ยงของกลุ่มที่เลือกและกลุ่มที่ไม่เลือกเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงมีความแตกต่างกัน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ทัศนคติ
dc.subject ความสามารถทางกีฬา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subject บุคลิกภาพ
dc.title การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยเชิงจิตวิทยาในกลุ่มกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง
dc.title.alternative An nlysis of discriminnt ofpsychologicl fctors in high risk sports
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aims of the research are to study the ability for discrimination between personality, attitude, self-efficacy and social support in high risk sports among high risk and non-high risk sports, and to compare personality, attitude, self-efficacy and social support in high risk and nonhigh risk sports. Participants were selected from athletes who play and who don’t play high risk sports. There were 412 participants who were over 18 years old, including 208 non-high risk sport athletes (n=208) and 204 high risk sport athletes. They were 253 males and 159 females. The study was conducted with the samples who clearly know high risk and non-high risk sports without probability and the snow ball selection technique was used to the high risk sport group, following the 1:1 match-pair. The 5 questionnaires were used as the instrument of the research for data collection. They consisted of 1) personal information, 2) big five personality, 3) attitude of high risk sports, 4) self-efficacy of playing high risk sports, and 5) social support of high risk sports. The data were analyzed by using 2 Group Discriminant Analysis and 2 Groups MANOVA. The result of the research found that personality, attitude, self-efficacy and social support in choosing to play high risk sports could be classified high risk sports from non-high risk sport athletes and personality, attitude, self-efficacy and social support of high risk sports athletes are statistically significant different (p<.05).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account