DSpace Repository

การขี่จักรยานเพื่อออกกำลังกายอย่างปลอดภัย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.advisor ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.author อารยะ ทิมละม่อม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7794
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายอย่างปลอดภัยในภาพรวม ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior: TPB) 2) เพื่อตรวจสอบอิทธิพลโดยรวม อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรสาเหตุในโมเดลทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีต่อความปลอดภัยโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ที่ขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกาย และไม่ได้เป็นนักกีฬา จำนวนทั้งสิ้น 475 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.92, 0.84, 0.84, 0.85 และ 0.62 ตามลําดับ ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการในการวิเคราะห์แบบจําลองสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling:SEM) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของแบบจําลองพฤติกรรมการขี่จักรยาน เพื่อการออกกําลังกายอย่างปลอดภัยกับแบบจําลองทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1. ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายอย่างปลอดภัย ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน พบว่า โมเดลของพฤติกรรม การขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกับโมเดลเชิงโครงสร้างและมีค่าสถิติและค่าดัชนีส่วนใหญ่ ผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ดังนี้ l2= 147.359, df= 67, l2 / df= 2.19,P-value= 0.465, RMSEA = 0.050, SRMR = 0.048, GFI= 0.960, AGFI= 0.929, CN = 314.454 2.ผลการตรวจสอบอิทธิพลโดยรวม อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรสาเหตุในโมเดลทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีต่อความปลอดภัย พบว่า ตัวแปรสาเหตุในสมการโครงสร้างตามทฤษฎี พฤติกรรมตามแผน สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรม ความปลอดภัยในการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายได้ร้อยละ 70.60 โดยตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกาย อย่างปลอดภัยนั้น มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายอย่างปลอดภัย ส่วนตัวแปร เจตคติที่มีต่อความปลอดภัยและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงความปลอดภัยในการขี่จักรยานนั้น มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรมและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกาย อย่างปลอดภัยและตัวแปรการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมความปลอดภัยนั้น มีอิทธิพลโดยตรงต่อตัวแปรพฤติกรรมการขี่จักรยานเพื่อการออกกําลังกายอย่างปลอดภัย โดยไม่ผ่านเจตนาเชิงพฤติกรรม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subject การออกกำลังกาย
dc.subject การขี่จักรยาน
dc.title การขี่จักรยานเพื่อออกกำลังกายอย่างปลอดภัย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
dc.title.alternative Sfety behvior for cycling: ppliction of plnned behvior theory
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposesof the research were 1) to determine the validity of the model of safety behavior for cycling in overview along with Theory of Planned Behavior (TPB) and 2) to examine the total effect, direct effect and indirect effectof causal variables on the model of behavioral theory on safety. The participants were 475cyclists who used bicyclesonly for exercise, not for competition by simple random sampling. Behavioral measurement in behavioral security was usedan instrument to measure the safety behavior for cycling. The reliabilities of the questionnaires were 0.92, 0.84, 0.84, 0.85 and 0.62respectively. Structural equation modeling (SEM) analysis wasemployed to compare the relationship between safe cycling model and the model of planned behavioral theory. The results of the research foundthat: 1. The results of accurate model validation of cycling behavior for safety based on Theory of planned behavior found that the empirical models are accurate with respect to structural models. The statistics and modification indices have passed the criteria as follows: l2 = 147.359, df= 67, l2 /df= 2.19, P-value= 0.465, RMSEA = 0.050, SRMR = 0.048, GFI= 0.960, AGFI= 0.929, and CN = 314.454. 2. The results of the total effect, direct effect and indirect effectof the causal variables in the model of safety behavioral found that the causal variables in the structural equation based on the theory of planned behavior could explain the variability of safety behavior in cycling for exercise about 70.60 %. Intention of safety behavior haddirect effect onsafety behavior for cycling. Attitude toward safety behavior and subjective norm for safety behavior had direct effect on /intention of safety behavior and they had indirect effect to safety behavior for cycling, and perceived behavioral control for safety behavior was direct effect to safety behavior without intention.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account