DSpace Repository

ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชนเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.advisor ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
dc.contributor.author ภคภัทร พิชิตกุลธรรม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา.คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7758
dc.description วิทยานิพนธ์ (พ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อประชาชน ถ้าประชาชนมีการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพที่ดีก็จะทำให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชนเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 147 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการสูงอายุการการรับรู้ความสามารถของตนเองการสนับสนุนทางสังคม และการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมเมษายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้น ตอน ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.78, SD = .39) และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเตรียม ความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การมีผู้สูงอายุในครอบครัว (x = .474) ทัศนคติต่อการสูงอายุ (x = .188) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (x = .268) การสนับสนุนทางสังคม (x = .129) และภาวะสุขภาพ (x = .110) โดยสามารถร่วมทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้ร้อยละ 64.1 (R 2 = .641, p< .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม/ โปรแกรมเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยเน้น เรื่องทัศนคติต่อการสูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และภาวะสุขภาพ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.title ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชนเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
dc.title.alternative Fctors predicting helth preprtion for ging society mong community-dwelling people in wngchn district, ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Health preparation for entering the aging society is crucial for people. Having good health preparation prior to be in this society would lead them to age successfully. This research aimed to identify factors predicting health preparation for the aging society among community-dwelling people in Wangchan district, Rayong province. One hundred and forty-seven community-dwelling people in Wangchan district, Rayong province were recruited using the simple random technique. Research instruments included questionnaires to gather data for demographic information, health status, attitude towards aging, perceived self-efficacy, social support, and health preparation for aging society. Data were collected during the period of March to April, 2018. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. The results revealed that health preparation for the aging societyamong community-dwelling people was at a good level (M = 3.78, SD = .39). The significant predictors of health preparation for aging society among community-dwelling people were having elderly people in the family (x = .474), attitude towards aging (x = .188), perceived self-efficacy (x = .268), social support (x = .129) and health status (x = .110). These predictors could together explain 64.1 % of variance in health preparation for aging society among community-dwelling people (R 2 =.641, p< .001). These findings suggest that nurses and other health care providers should apply these study results to develop interventions or programs aimed at promoting health preparation for the aging society among community-dwelling people by focusing on attitude towards aging, perceived self-efficacy, social support, and health status.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account