dc.contributor.advisor |
สุเมธ งามกนก |
|
dc.contributor.advisor |
ประยูร อิ่มสวาสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
วราภรณ์ อำไพ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:19:19Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:19:19Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7711 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์กากรทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำนวน 495 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีค่า IOC ระหว่าง .67 - 1 จำนวน 46 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .43 - .67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐา (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านหลักความโปร่งใส และด้านหลักประสิทธิผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านหลักความโปร่งใส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการตอบสนอง ด้านหลักความโปร่งใส และด้านหลักความเสมอภาคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
Administrtion ccording to good governnce of school dministrtors in chonburi consortium group 2 under the secondry eductionl service re office 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study and compare the problems of good governance in schools managed by school administrators in Chonburi Consortium Group 2 under the Secondary Educational Service Area Office 18. The sample was 495 teachers in secondary schools in Chonburi Consortium Group 2 under the Secondary Educational Service Area Office 18. The research instrument was a five point rating scale questionnaire asking 46 questions school about administration according to good governance exercised by school administrators in Chonburi Consortium Group 2 under the Secondary Educational Service Area Office 18. The score of Item Objective Congruence (IOC) was and between 0.67-1, of the discrimination power was between 0.43-0.67. The reliability value was 0.88. The statistical devices were Mean ( ) Standard Deviation (SD) and t-test. The results of the research were as follows: 1. Problems of administration according to good governance exercised by school administrators in Chonburi Consortium Group 2 under the Secondary Educational Service Area Office 18, as a whole and individual aspect were at a high level. 2. These was no statistically significant difference between male and female teachers toward the administration according to Good Governance of school administrators. However male and female teachers express different opinion statistically significant at .05 level in the area of transparency and effectiveness. 3. These was no statistically significant difference among teachers with different position toward the school administration according to Good Governance of school administrators both in general and each aspect, except in the area of transparency which was statistically significant difference at .05 level. 4. These was statistically significant difference at .05 level among teachers having different work experience both in general and each aspect, except in the areas of accountability, decentralization, participation, responsiveness and equity which were not statistically significant difference. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|