dc.contributor.advisor |
ประยูร อิ่มสวาสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ณฐกร สร้อยทอง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:19:17Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:19:17Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7705 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการสอนของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรด้านการสอนโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 136 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวนทั้งหมด 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 27 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.21 - 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการสอนโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 38 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.22 - 0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ โดยหาคะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดบรรยากาศในโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการสอนของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ด้านลักษณะทางสังคม ด้านความมั่นคง ด้านโอกาสและความก้าวหน้า 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรด้านการสอนของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ครูมัธยมศึกษา -- การสอน |
|
dc.subject |
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร -- ชลบุรี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
ภาวะผู้นำทางการศึกษา |
|
dc.subject |
ความพอใจในการทำงาน |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการสอนของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
Reltionship between dministrtor’s cdemic ledership nd teching stff’s stisfction of bnglmung school under the secondry eductionl service re office 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research were to study the relationship between the academic leadership of school administrators and satisfaction of staff teaching in Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18. The research sample was 103 teachers out of 136 teachers working in Banglamung School in the academic year 2017. The number of sample was suggested based on Krejcie & Morgan’s table. The research instrument was a five-rating scale questionnaires divided into two parts. The first part contained 27 questions surveying opinion toward academic leadership of school administrators of Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18. The item discriminative power was between 0.21-0.76 and the reliability was at 0.87. The second part contained 38 questions investigating satisfaction level of the staff of Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18. The item discriminative power was between 0.22-0.79 and the reliability was at 0.91. The statistics used in this research were Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research found that: 1. The academic leadership of school administrators and the satisfaction level of staff teaching in Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18 were at a high level in both overall and every aspect. When considering each aspect; the research found that the top 3 aspects ranked from the top were the school environment administration, teaching and learning administration, and the school miission assignment. 2. The level of satisfaction of staff teaching in Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18 was found at a high level in both overall and every aspect. When considering each aspect, the research found that the top 3 aspects which were rated were social appearance, stability, opportunity and advancement. 3. The relationship between academic leadership of school administrators and satisfaction of staff teaching in Banglamung School under the Secondary Educational Service Area Office 18, in overall, was found at a very high level with the .01 level of statistically significance. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|