DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.author จีรภัทร คงยะมาศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:19:13Z
dc.date.available 2023-05-12T04:19:13Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7686
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ระหว่าง .47 - .89 มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของข้าราชการครู ระหว่าง .22 - .93 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนเท่ากับ .95 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของข้าราชการครูเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 2 คู่ คือ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางและผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู โรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวม จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่าแตกต่างกัน 2 คู่ ได้แก่ แรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับ ค่อนข้างสูงกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternative The reltionship between trnsformtionl ledership of school dministrtors nd job motivtion of school techers in srirch five cluster under the chonburi primry eductionl service re office 3
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study the relationship between transformational leadership of school administrators and job motivation of school teachers in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The sample employed in this study was 113 teachers in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The data- collecting instrument was a set of five point-rating-scale questionnaire devided into 2 part. The first part surveying transformative leadership of school administrators had the item discrimination value between 0.47-0.89. The second part asking question about the job motivation of school teachers had the item discrimination between 0.22 and 0.93 and the reliability of 0.97. The data was analyzed by Mean, Standard Deviation and Pearson Product Moment Correlation. The results of the research were as follows: 1. The transformational leadership of school administrators in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 was found at a high level. 2. The transformational leadership of school administrators in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 as classified by school size, overall and each aspect, showed statistically significant difference at the 0.5 level. 3. The job motivation of school teachers in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 was found at a high level. 4. The job motivation of school teachers in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 as classified by school size, overall and each aspect, showed statistically significant difference at the 0.5 level. 5. The transformational leadership of school had a moderately positive relationship with the job motivation of school teachers in Sriracha five cluster under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 at the 0.1 statistically significant level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account