DSpace Repository

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพันธ์ พานิชย์
dc.contributor.advisor พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.author ศิริรัตน์ อินจิ๋ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:19:11Z
dc.date.available 2023-05-12T04:19:11Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7677
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/ 90 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 และ 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเตรียมตัว สู่อาชีพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/ 2 โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มี 25 คน ได้มาโดยการจับสลากแบบกลุ่มใช้เวลาในการทดลอง 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเตรียมตัวสู่อาชีพ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องการเตรียมตัวสู่อาชีพ เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเตรียมตัวสู่อาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้จำนวนร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 91.07 และจำนวนร้อยละของผู้เรียนที่สามารถทำแบบทดสอบผ่านทุกวัตถุประสงค์ เท่ากับ 91.67 สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/ 90 2. คะแนนจากการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเตรียมตัวสู่อาชีพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject บทเรียนคอมพิวเตอร์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
dc.title การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การเตรียมตัวสู่อาชีพรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
dc.title.alternative The development of computer ssisted instruction lesson on prepring for creer in occuptions nd technology course for mthyomsuks 6 students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to develop the Computer Assisted Instruction Lesson on “Preparation for Job” for Occupation and Technology 6 to meet the 90/ 90 Standard criterion, 2) to compare the pre-test and post-test’ scores after using the Computer Assisted Instruction Lesson, and 3) to study the students’ satisfaction towards learning with the Computer Assisted Instruction Lesson. The sample of this research was 25 students of Mathayomsuksa 6/ 2 from St. Paul’s Convent School, Sriracha, Chonburi in the second semester of the Academic Year 2017, selected by cluster random sampling. It took 6 hours for the study with the CAI. The instruments used for this research were 1) The Computer Assisted Instruction Lesson on preparing for a career in occupations and technology course, 2) pretest and posttest 6, and 3) questionnaires for students’ satisfaction towards learning with the Computer Assisted Instruction Lesson. The data were analyzed with percentage, mean, and t-test. The findings were as follows; 1. The efficiency of the Computer Assisted Instruction Lesson was at 91.07/ 91.67 Which met the set criteria. 2. The post-test scores after learning with the Computer Assisted Instruction Lesson were higher than the pre-test score at the .01 level of the statistical significance. 3. The score of the students’ satisfaction towards the Computer Assisted Instruction Lesson 6 was at very high level. ( average = 4.63)
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account