dc.contributor.author |
เวธกา กลิ่นวิชิต |
th |
dc.contributor.author |
กาญจนา พิบูลย์ |
th |
dc.contributor.author |
คนึงนิจ อุสิมาศ |
th |
dc.contributor.author |
เบญจมาศ อุสิมาศ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:53:07Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:53:07Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/762 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป้นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เพื่อปัญหาศึกษาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน และเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านตามสภาพชุมชนในเขตจังหวัดชลบุรี ประชากรคือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีโรคเรื้อรัง ที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 29,756 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้อำเภอที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ อำเภอบ่อทอง อำเภอพนัสนิคม และอำเภออ่าวอุดม ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางกำหนเกลุ่มตัวอย่าง ของเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1960) ได้จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยปรับปรุง มาจากแนวทางการสัมภาษณ์ ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งด้านสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) สภาวะสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์มูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลทั่วไปโดยรวมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (68.61%) รองลงมาเป็นเพศชาย (31.39%) สถานภาพสมรสคู่ (43.78%) อายุเฉลี่ย 70.14 ปี ในเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 68.84 เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 72.98 ปี ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่ เป็นครอบครัวเดี่ยว (66.49%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (75.99%) สมาชิกในครอบครัวมี 1-5 คน (75.73%) ยังทำงานอยู่ (55-15%) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร (55.15%) มีรายเฉลี่ย 2,360.417 บาท/เดือน แหล่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม (47.75%) เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (32.19%) ลักษณะสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย ส่วนใหญ่เป็นบ้านในเขตชนบท (77.57%) และเป็นบ้านของตนเอง (91.82%)
2. สภาวะสุขภาพและความต้องการดูแลของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง โดยรวมพบว่า มีความต้องการดูแลด้านการรับรู้และการจัดการสุขภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านบทบาทและความสัมพันธ์ในสังคมและด้านการพักผ่อนนอนหลับ อันดับสามคือ ด้านการออกกำลังกายและการทำกิจกรรม ส่วนสภาวะสุขภาพที่พบว่ามีปัญหาและต้องการการดูแลน้อยที่สุดคือ ด้านเพศสัมพันธ์และการสืบพันธุ์
3. ด้านการรับรู้และการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่คือ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่ามีภาวะเจ็บป่วยด้วยอาการหรือโรคต่าง ๆ (64.91%) ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระบบไหลเวียนโลหิต (29.94%)ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป้นโรคความดันโลหิตสูง (79.61%) รองลงมาเป็นโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ (19.52%) ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน (93.24%) ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่เคยเจ้บป่วยจนถึงขั้นเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (67.81%) สำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป๋นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (39.71%) และเข้าโรงพยาบาลเฉลี่ย 2.18 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ (78.36%) และไม่ดื่มอแลกอฮอล์ (70.71%) อุบัติเหตุที่เคยได้รับส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุจากการจราจร (32.45%) ได้รับ คำแนะนำทางด้านสุขภาพส่วนใหญ่จากแพทย์ (41.01%) และใช้สิทธิการรักษาพยาบาล จากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (86.81%) และเมื่อเจ็บป่วยมักจะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล (71.82%) และผู้ที่คิดว่าจะสามารถดูแลตนเองได้ดีที่สุดใกล้ชิดที่สุดคือ บุตร-ธิดา (57.94%)
4. ด้านบทบาทและความสัมพันธ์ในสังคม โดยส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าคนในครอบครัวบอกเขาว่าที่ครอบครัวอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะตัวของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก (X=3.86, SD =1.10) เป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ปัญหาส่วนใหญ่ของครอบครัวจะเป็นผู้จัดการและผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก (X=3.81, SD=1.14) และรู้สึกว่ามีคนใกล้ชิดที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย อยู่ในระดับมาก (X=3.81, SD=1.17) |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2548 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การพยาบาลผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ - - การดูแล |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
สภาวะสุขภาพและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านในเขตจังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
Health status and need of health care of elderly and chronic patients in Chonburi province |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2549 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this descriptive research were designed to describe the health status and needs of health care of elderly and chronic patients in Chonburi province. The 379 participants were the sample from stratified random sampling. Statistics employed were percentage average mean and t-test. It was found that the comparison of health care needs showed that the perception and health management was the most level. The second was the role and social relationship and the third was the exercise and activities. On the other hand health care. need in reproductive and sexual were the lowest. Health status in perception and health management were found that the most was healthy nevertheless in chronic patients the first illness was diagnosis from vascular system namely; hypertention, dyslipidemia and heartdisease. The second illness was diagnosis from endocrine gland such as diabetic mellitus and thyroid. The sample who had been admission in hospital were got sick by respiratory problems and rang of admission were 2.18 time/year. They usually consulted health problems with doctors and had health insurance from government policy. The most decided going to hospital when had illness, in their opinion the best care giver were daughter and son. Health status in the role and social relationship revealed that they felt proud that be the leader of their family, decision making on their hands and felt safety when near closely friends or family. |
en |