dc.contributor.advisor | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม | |
dc.contributor.advisor | สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ | |
dc.contributor.author | ฐิติชญา ชิณโชติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:16:48Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:16:48Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7620 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความความขัดแย้งในโรงเรียน สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความขัดแย้งในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับของปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในโรงเรียนกับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 4) สร้างสมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียนจากปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 320 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรก สอบถามความขัดแย้งในโรงเรียน ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42-0.78 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 2 สอบถามปัจจัยต่าง ๆ ในโรงเรียน โดยปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42-0.63 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.38-0.69 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ปัจจัยด้านการสื่อสาร ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.37-0.69 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.41-0.63 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมือง ในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสารและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ และปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความขัดแย้งในโรงเรียนในระดับค่อนข้างต่ำ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ และปัจจัย ด้านการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ 4) สมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียนในภาพรวม มี 3 ปัจจัย เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด เรียงตามอันดับ ดังนี้ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมือง ในองค์การ และปัจจัยด้านการสื่อสาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมของทั้ง 3 ปัจจัย เท่ากับ .165 และสามารถพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียน ได้ร้อยละ 16.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y ̂ = 1.429 + .347 (X1) + .208 (X2) + .136 (X3) และคะแนน มาตรฐาน คือ Z ̂ = .277(Z1) + .257(Z2) + .226(Z3) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | ความขัดแย้ง | |
dc.subject | ผู้นำทางการศึกษา | |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 | |
dc.title.alternative | Fctors ffecting school conflict under nkhonrtchsim primry eductionl service re office iii | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the factors those affect school conflict under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office III, with the following objectives; 1) study the level of school conflict, 2) study the leadership behavior factors, organizational politic factors, communication factors, and environmental factors, 3) study the relationship between school conflict and leadership behavior factors, organizational politics factors, communication factors, and environmental factors, 4) construct the equation for predicting school conflict from leadership behavior factors, organizational politics factors, communication factors, and environmental factors. The sample consisted of 320 teachers selected by using stratified random sampling technique. Research instruments were sets of questionnaires. The first set was on school conflicts with the discriminative power ranged from 0.42-0.78 and reliability was 0.94. The second set was on 4 main factors, they were: factors in the school leadership behavior with the discriminative power value was 0.42-0.63 reliability was 0.94, organizational politic factors with the discriminative power value was 0.38-0.69 reliability was 0.90, communication factors with the discriminative power value was 0.37-0.69 reliability was 0.89, and environmental factors with the discriminative power value was 0.41-0.63 reliability was 0.96. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, Coefficient Multiple correlation coefficient and stepwise multiple regression. The research results were: 1) The school conflict under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office III, as a whole and by each dimension were at high level, 2) Leadership behaviors factors, organization politics factors, communication factors and environmental factors as a whole and by dimension were at high level, 3) Leadership behaviors and organizational politics factors had positive correlation with school conflict at a low level, while the environmental factors had positive correlation at low level. While the communication factor has negative correlation at low level, 4) The equation for predicting school conflict compossed of three factors as the best predictor variables. The leadership behaviors factor, the organizational politics factors and the communication factors. The cumulative coefficient of covariance of all three factors was .165. It can predict school conflict at 16.50 percent, with the significant value at .01 level. The equation for predicting school conflict in raw data was Y ̂ = 1.429 + .347 (X1) + .208 (X2) + .136 (X3) and in standard data was Z ̂ = .277(Z1) + .257(Z2) + .226(Z3) | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |