dc.contributor.advisor | ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ | |
dc.contributor.advisor | ไพรัตน์ วงษ์นาม | |
dc.contributor.author | สุมาลี เซ็ม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:16:47Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:16:47Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7613 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,133 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่าและแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย การกำกับตนเองในการเรียน แรงจูงใจ ความตั้งใจ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ แรงจูงใจ และความตั้งใจ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.60 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการคำนวณ ทักษะการจัดจำแนกประเภท ทักษะสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา ทักษะ การจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล ทักษะการลงความคิดเห็นและทักษะการพยากรณ์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.09 ถึง 0.42 ด้านที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุด คือ ทักษะการคิดคำนวณ 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ปรับเป็นโมเดลประหยัด มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการทดสอบ เท่ากับ 273.73 ค่า P-value เท่ากับ 0.000 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 167 ค่า /df เท่ากับ 1.639 ค่า GFI เท่ากับ 0.98 ค่า AGFI เท่ากับ 0.97 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEAเท่ากับ 0.024 ปัจจัยที่อิทธิพลทางตรงต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือตัวแปรแฝงแรงจูงใจ และตัวแปรแฝงความตั้งใจ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวแปรแฝง เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ผ่านตัวแปรแฝงแรงจูงใจ และตัวแปรแฝงความตั้งใจ และ ตัวแปรแฝงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้รับอิทธิพลทางอ้อม จากตัวแปรแฝงแรงจูงใจ ผ่านตัวแปรแฝงความตั้งใจ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | |
dc.title | ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก | |
dc.title.alternative | The cusl fctors ffect on science process skills of prthom suks vi students under the jurisdiction of the re service office nkhon nyok province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to develop and validate the causal factors affect on science process skills of Prathomsuksa 6 students under Kakhonnayok Education Area Service Office.The samples were 1,133 students who were studying in primary schools in Nakhon Nayok Provinces, selected by Multi-stage random sampling. The research instrument was science process skills questionnaire with 40 item on basic science process skills. The statistics used were as well as descriptive statistics causal relationship modeling involved the use of Lisrel 8.72, The results were as follows: 1. The causal factors affect on science process skills were; self-learning control, attitude toward science, motivation in learning science, and attention, having the beta weight of factor 0.60, factors which contributed most to the effect was motivation in learning science, and interest. 2. The science process skills were are as follows: observation, measurement,. classification, organizing data and communicating, making predictions, drawing inferences, judging spatial relationships and spatial-temporal relationships, using numbers, formulating hypotheses. The beta weight of the factors were 0.09 to 0.42. The factor which contributed the most effect was using numbers. 3. The hypothetical model was consistent with empirical data. The goodness of fit statistics were: chi- square test = 273.73, df =187, p = .000, / df=1.639, GFI = 0.98, AGFI=0.97 CFI = 1.00, and RMSEA = 0.024, the variables in the hypothetical model accounted in form of direct cause on science process skills was attention to learning. The variables with influences, in the form of direct and indirect causes on science process skills through: attitude toward science, motivation in learning science, and interest. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |