DSpace Repository

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.advisor รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
dc.contributor.author มณีนุช พรหมอารักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:47Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:47Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7612
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้าน การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,005 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 7 ตอน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 6 ตัวแปร ได้แก่ ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมทาง การเรียน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ (Chi-Square = 560.32, df = 140, / df = 4.00, CFI = 0.99, GFI = 0.96, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.055) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 94 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลตรงต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรนิสัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative The development of cusl reltionship model of dpttion for mthemtics study of the fourth level, the secondry eductionl service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the development of a causal relationship model of adaptation for mathematics study of Mathayomsuksa 4 students under the Secondary Educational Service Area Office 18. The sample were 1,005 students which were selected by using a multi-stage random sampling technique. The instrument was questionnaire. Data were analyzed by using SPSS and Lisrel 8.72 program to confirm the validity of the model and to analyze the developed structural equation model. The results indicated that the model consised of six latent variables: Adversity quotient, Future orientation, Motivation, Attitude, Habits and Educational Environment. The model fit to the empirical data. (Chi-Square = 560.32, df = 140, /df = 4.00, CFI = 0.99, GFI = 0.96, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.055). All variables in the model can explain the variance of adaptation for mathematics study at 94 percentage. The Motivation and Adversity quotient directly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05. The Habits, Attitude and Future orientation indirectly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05. The Attitude and Motivation both directly and indirectly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account