DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisor เชวง ซ้อนบุญ
dc.contributor.author กชพร จันทรเสนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7609
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ภาวะผู้นำด้านการประกันคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ภาวะผู้นำด้านการประกันคุณภาพ กับการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้ว ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 274 ตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือตามแนวคิดของครอนบาค (Cronbach alpha formula) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ .923 และทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาเท่ากับ .89 สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ทดสอบความแตกต่างใช้สถิติแบบ t-test, F-test ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่วิธี Least significant difference (LSD) ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลวิจัยปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ 36-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโท รองลงมา ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนเป็นครู รองลงมา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการ ส่วนน้อย คือ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการ น้อยสุด หัวหน้างานประกัน บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมากที่สุด โดยสูงสุด การกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพแต่ละสถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมจากที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำหนดให้ มีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการสร้างความรู้ ทักษะ และความมั่นใจให้กับครูและบุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากรมีภาวะผู้นำการประกันคุณภาพการศึกษา ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทในการบริหารจัดการ ส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้วในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด ด้านการพัฒนาและปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการตรวจสอบและทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา และด้านการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงาน มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว แตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และภาวะผู้นำต่อการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยพบว่า ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์สูงสุด และภาวะผู้นำต่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยด้านการพัฒนาและปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์สูงสุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ประกันคุณภาพการศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การมีส่วนร่วมของครู
dc.title การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
dc.title.alternative A study of fctors ffecting the techers nd stff on the implementtion of qulity ssurnce ofschools under the skeo provincil dministrtion orgniztion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The study aimed 1) to study the level of participation of teachers and staff on the implementation of quality assurance of schools under the Sakaeo Provincial Administration Organization, 2) to study the level of knowledge, understanding of the leadership, and attitude of school administrators toward the quality assurance of schools under the Sakaeo Provincial Administration Organization, 3) to study personal factors affecting the participation of teachers and staff on the implementation of quality assurance of schools under the Sakaeo Provincial Administration Organization, and 4) to analyze relationships of knowledge, understanding of leadership, and attitudes toward quality assurance and the participation of teachers and staff in the implementation of the quality assurance of schools in Sakaeo Provincial Administration Organization. The research approach in this study was a quantitative research that uses survey methodology. The data was collected by a rating scale questionnaire. The sample consisted of 274 of teachers and staffs of schools under the Sakaeo Provincial Administration Organization. The validity and reliability of this assessment tool was conducted based on the 30 Cronbach’s alpha formula. The result of reliability of assessment tools was .923 and index of item-objective congruence was .89. Descriptive data analysis included frequency, percentage, Mean, Standard deviation, and quantitative data was analyzed by t-test, F-test, Least significant difference (LSD). Correlation test was made with Pearson’s correlation coefficient test at .05 significant levels. SPSS software was used for analyzing data and running statistical tests. This study reports that most of respondents are female rather than male. Their ages was between 36 and 40 year old. Most participants were master degree graduates. They have more than 20 years of work experience. Sample were teachers, heads of a department, deputy directors and academic affairs. The teacher and the staff have the highest level of knowledge and understanding of quality assurance. Each school can further set their indicators and criteria apart from the criteria setted by the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). This study reports that the quality assurance in education help create knowledge, skills and confidence for teachers and staff at the highest level. Also, teachers and the staff have leadership in quality assurance in education at the highest level. And implementation of quality assurance for the school in the Sakaeo Provincial Administration Organization was the highest level. Development and improvement of quality assurance in school, evaluation, assessment and quality assurance of education, quality assurance of education planning, and implementation of quality assurance activities, were at the highest level, respectively. The results of hypothesis testing on personality factors indicated that sex, age, education level, work experience and position of the sample affects how they may devote for the implementation of quality assurance of their schools under the Sakaeo Provincial Administration Organization, differently. The report of a correlation revealed that knowledge, understanding, attitudes and leadership toward the quality assurance of schools correlated with implementation of quality assurance of schools in the Sakaeo Provincial Administration Organization. It was found that the knowledge, understanding and attitudes toward quality assurance in the schools had a positive correlation with the implementation of quality assurance, quality assurance of education planning at the highest level, and leadership on quality assurance in education was positively correlated with the implementation of the quality assurance of schools. The development and improvement of quality assurance had the highest correlation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account