DSpace Repository

การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปริญญา ทองสอน
dc.contributor.advisor ปานเพชร ร่มไทร
dc.contributor.author สุมิตร คชรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:45Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:45Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7606
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนและศึกษาเจตคติของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 42 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเป็นหน่วยในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายน่ารู้ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถใน การแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/ E2) เท่ากับ 81.93/ 86.61 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. เจตคติของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กิจกรรมการเรียนรู้
dc.subject กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม -- กิจกรรมการเรียนการสอน -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.title การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
dc.title.alternative The utiliztion of lerning ctivity pckge using problem - bsed lerning (pbl) in socil, religion nd culture for prthomsuks 6 students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research was to utilize the learning activity package using problem-based learning (PBL) in social, religion, and culture for Prathomsuksa 6 students effectively as 80/80 criteria. The research also aimed to compare the learning achievement, problem solving ability, and attitude of the students after studying with the learning activity package using problem-based learning. The research sample was Prathomsuksa 6/4 students who were studying in the academic year 2017 at Takwean (Saiutid), Panomsarakham district, Chacheongsao. The number of the research sample was 42 students retrieved from cluster random sampling method by using the class number as the random unit. The research instruments were 4 packages the learning activity package using problem-based learning, 4 lesson plans on the topic of Law Inquiry, 30 items learning achievement test, 20 items problem solving test, and 15 items attitude measurement evaluation form of the students who studied with the learning activity package using problem-based learning. Statistic used in this research were Mean, Standard deviation, and t-test dependent. The research results were 1. The learning activity package using problem-based learning was effective according to the standard of (E1/ E2) as 81.93/ 86.61 2. The learning achievement after applied with problem-based learning was higher than pre-learning with statistical significance at .01 level. 3. The post-learning problem solving test was higher than pre-learning with statistical significance at .01 level 4. The attitude of the students after learning with the learning activity package using problem-based learning was at the strongly agree level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account