Abstract:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 16 ราย เลือกแบบเจาะจงตมคุณสมบัติที่กำหนด และมารับบริการที่หอผู้ป่วยหลังคลอดจากโรงพยาบาล 4 แห่งในภาคตะวันออก ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2546 ถึงเดือน มกราคม 2548 คณะผู้วิจัยได้เริ่มให้บริการที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน 6 สัปดาห์หลังคลอดโดยให้บริการ 6-8 ครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ กระบวนการวิจัยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างคณะผู้วิจัยกับมารดาหลังคลอด และครอบครัว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การค้นหาปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี กาค้นหาวิธีและลงมือกระทำเพื่อจัดการกับปัญหา โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ สรุปประเด็น และ สร้างรูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมาดรหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วน 1) กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
2) การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
3) ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี 4) ความสามารถของครอบครัวในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี และ 5) ผลลัพธ์ของการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี มี 4 ระยะ คือ 1) จาก “สามี/ครอบครัวยอมรับหรือกลัวสามี/ครอบครัวรังเกียจ” สู่ “ได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากสามี/ครอบครัว” 2) จาก “กลัวสังคมรังเกียจ” สู่ “ปิดบังสังคม” 3) จาก “กลัวลูกติดเชื้อ/คาดหวังว่าลูกจะไม่ติดเชื้อ” สู่ “มีความหวังและกำลังใจมีชีวิตอยู่เพื่อเลี้ยงดูลูก” และ 4) จาก “พึ่งตนเองได้ เหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน” สู่ “ภูมิใจที่ได้ปฏิบัติบทบาทมารดารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า” การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย การให้การปรึกษาโดยให้ข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีโดยแนะนำการจัดการกับผ้าอนามัยที่เปื้อนเลือด และการมาตรวจหลังคลอดตามนัด แนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาให้จิตได้เกิดปัญญา และ กระตุ้นและสนับสนุนให้เปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวีกับสามี/ครอบครัว และ การพูดคุยกับสามีเกี่ยวกับการป้องกันเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย สอน/แนะนำเทคนิคการจัดการกับปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์ประเมินร่วมกันเป็นระยะ และปรึกษาทีมสุขภาพ กลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย การสร้างความไว้วางใจและเชื่อถือ สะท้อนคิดพิจารณา ปกปิดความลับการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วยการสร้างความไว้วางใจและเชื่อถือ สะท้อนคิดพิจารณา ปกปิดความลับการติดเชื้อเอชไอวี แนะนำการเลี้ยงดูลูกด้วยนมผสมและสนับสนุนให้ลูกได้กินยาต้านไวรัสเอดส์ ฝึกการแสวงหาและรู้จักเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารและสร้างสิ่งหล่อเลี้ยงทางใจ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาที่ติดเชื้อ ทักษะในการตัดสินใจ ความเชื่อในเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ความหวัง การมองโลกในแง่ดี ภาวะเศรษฐกิจ สติปัญญา และกระบวนการคิดเชิงเหตุ-ผล รวมทั้งการมีลักษณะของความเข้ขมแข็ง ความสามารถของครอบครัวในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีโดย ครอบครัวเข้าใจและยอมรับการติดเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถจัดการกับความเครียดและปรับตัวได้ สนับสนุนการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เช้าใจจิตใจและอารมณ์ของมราดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ช่วยวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ดี รวมทั้งปรับวิถีชีวิตใหม่ในการส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีและลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีจึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะผลลัพธ์ของการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี มีดังนี้ คือ มาดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการสนับสนุนจากสามี/ครอบครัวด้านอารมณ์ เป็นกำลังใจ ความผูกพันความรู้สึกเชื่อถือไว้วางใจต่อครอบครัว ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่สามารถพูดคุยปัญหาต่างๆได้อย่างอย่างเปิดเผย ได้รับคำแนะนำที่มีผลดีต่อสุขภาพ และได้รับความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูลูกและการทำงานบ้านต่างๆ ทำให้มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีเกิดความภูมิใจในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดาและความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเอง เกิดแรงจูงใจในการมีพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีอย่างถูกต้องเหมาะสม
การวิจัยครั้งนี้แสดงความชัดเจนของบทบาทพยาบาลในการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี จากการที่มารดาหลังคลอดติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่าเพราะติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ทำให้สังคมรังเกียจ รวมทั้งเชื้อเอชไอวีมีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูก เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ บทบาทของพยาบาลในการใช้กระบวนการดูแลที่มีความเมตตา เอื้ออาทร และหวังดีอย่างจรงใจจากคณะผู้วิจัยและครอบครัวเหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถพึ่งตนเองได้ภูมิใจที่ได้ปฏิบัติบทบาทมารดาที่ดี มรการดูแลตนเองและพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีที่ถูกต้องเหมาะสม