DSpace Repository

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : วิเคราะห์พหุกลุ่ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.advisor บุญรอด บุญเกิด
dc.contributor.author เกตุม สระบุรินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7570
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมโมเดล ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลระหว่างสังกัดของสถานศึกษา ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2,160 คน จำแนกเป็นสังกัด สังกัดละ 720 คน และจำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิง เพศละ 1,080 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง อยู่ระหว่าง .75-.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และการวิเคราะห์ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ประกอบด้วย องค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบการส่งเสริมจากครอบครัวและเครือข่าย องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติตน องค์ประกอบ เจตคติต่อการปฏิบัติตน องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับทัศนะของกลุ่มอ้างอิง องค์ประกอบการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิง องค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม องค์ประกอบการรับรู้ความสามารถในการควบคุม การปฏิบัติตน องค์ประกอบเจตนาในการปฏิบัติตน องค์ประกอบความสามารถในการควบคุมการปฏิบัติตน องค์ประกอบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (χ2 = 1582.575, p = .000, df = 337, χ2/df = 4.696, CFI = .989, GFI = .962, AGFI = .920, RMSEA = .042) ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีค่าเท่ากับ 0.844 3. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ความซื่อสัตย์ของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระหว่างเพศ และระหว่างสังกัดของโรงเรียน พบว่า 1) โมเดลระหว่างเพศชายและเพศหญิง มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุ เมื่อกำหนดให้ค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์สัมประสิทธิ์ การถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรแฝงภายนอก มีค่าเท่ากัน 2) โมเดลระหว่างโรงเรียนสังกัด สพฐ., สช. และ อปท. มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล และโมเดลที่มีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ระหว่างสังกัดของสถานศึกษา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การปรับพฤติกรรม
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.subject ความซื่อสัตย์
dc.subject การศึกษาขั้นมัธยม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : วิเคราะห์พหุกลุ่ม
dc.title.alternative Cusl fctors effecting the honest behvior of students in lower secondry schools bngkok nd metropolitn res :bmultiple group nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to validate direct and indirect effects of the causal factor model that effect the honest behavior of students in lower secondary schools in Bangkok and metropolitan areas, 2) to examine the consistency of the model with the empirical data, and 3) to test the invariance of the model between students in schools affiliated with Office of the Basic Education Commission (OBEC), Office of the Private Education Commission (OPEC) and Local Administrative Organization (LAO). Participants of this research were 2,160 high school students, 720 OBEC, 720 OPEC and 720 LAO, they were selected by using multistage random sampling technique. The instrument used for collecting the data was five-rating scale questionnaires, developed by the researcher. Its reliability was between 0.767-0.887. Data were analyzed by basic statistics, confirmatory factor analysis, causal factor analysis, and multiple group structural equation model analysis. Results were that; 1) The validity of the causal model consisted of ten variables those effected directly and indirectly on the honest behavior of students in lower secondary schools in Bangkok and metropolitan areas. They were background factors, behavioral beliefs factors, attitude towards the behavior factors, subjective norm factors, perceived behavioral control factors, intention factors, control beliefs factors, perceived power factors, normative beliefs factors and actual behavioral control factors. These factors fit to the empirical data; 2) The model factors those effected the honest behavior of students in lower secondary schools in Bangkok and metropolitan areas well fit to the empirical data as the Chi-square goodness of fit test was 1582.575, df = 337, p-value = .000, χ2/df = 4.696, GFI = .962, CFI = .989, AGFI = .920, and RMSEA = .042. The model was accounted for 84.40 % of variance in the honest behavior of students in lower secondary schools; and 3) there was an invariance of the model between male and female students and school affiliated with Office were that; 1) Model of male and female students having changes of the parameters of the matrix effects of exogenous factor variances to endogenous factor variances. The model adding condition equal of the parameters of the matrix of factor loadings for exogenous the model was harmonious and consistent with empirical data. 2) Model of school affiliated with OBEC, OPEC and LAO but having changes of the parameters of the matrix effects of exogenous factor variances to endogenous factor variances. The invariance of the causal model consisted of variables those had direct and indirect effect to the honest behavior of students in lower secondary schools in Bangkok and metropolitan areas between students in school affiliated with OBEC, OPEC and LAO.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account