DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการสอนวิชางานเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิมลรัตน์ จตุรานนท์
dc.contributor.advisor วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
dc.contributor.author ถนัด เฟืองมะลิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7565
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซล โดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) ศึกษา ผลการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชางานเครื่องยนต์ดีเซล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 2/ 1 และ 2/ 2 โดยการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม และจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 18 คน รวม 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานเครื่องยนต์ดีเซล 5) แบบวัดเจตคติต่อรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซล โดยใช้หลักการเรียนรู้ เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้รูปแบบการสอนที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียน การสอน 4) เนื้อหาสาระ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นเลียนแบบ 3) ขั้นสาธิตทักษะย่อย 4) ขั้นปฏิบัติย่อยอย่างสมบูรณ์ถูกต้อง 5) ขั้นเชื่อมโยง ทักษะย่อย 6) ขั้นแสดงออกอย่างสมบูรณ์ 7) ขั้นแสดงออกอย่างชำนาญ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, SD = 0.531) 2. ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า 2.1 ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่า ทักษะ การปฏิบัติงานของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2.2 เจตคติต่อรูปแบบการสอนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.48, SD = 0.21)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ทักษะการเรียน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.subject วิชาชีพ
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา -- การศึกษาและการสอน
dc.subject ช่างเครื่องยนต์ -- การศึกษาและการสอน
dc.title การพัฒนารูปแบบการสอนวิชางานเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
dc.title.alternative The development of teching model with prcticl skills nd coopertive methods on diesel engine subject for voctionl eduction certificte students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were; 1) to develop a teaching model with practical skills with cooperative methods on Diesel Engine subject for vocational certificate students, and 2) to study the effects of the developed instructional model. The population were 73 second year in vocational education certificate students from Thai-Austrian Technical College, semester 1, academic year 2016. The sample group consisted of 2/ 1 and 2/ 2 classes which were randomly assigned into the experiment, 19 student for controlled group and 18 for experimental group. The research instruments were; 1) Diesel Engine instructional model using practical skills and collaborative learning. 2) learning management plan, 3) the achievement test 4) Diesel Engine performance assessment form, and 5) the attitude inventory towards the course. The statistics used for data analysis were, mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows; 1. The efficiency of the teaching model of Diesel Engines, using practical skills and cooperative learning was at a high level ( = 4.40). The model consisted of 5 element; 1) Principle 2) Objective 3) Contents 4) Substance 5) Test and evaluation. The teaching comprised of 7 steps, they were; 1) Stimulate attention 2) Assimilate 3) Demonstration 4) Performance appraisal 5) Conecting 6) Expressive expression and 7) Expert expression 2. The comparison of learning outcome showed that: 2.1 The experimental group had post-experimental skill scores, in overall higher than the control group at .05 level of significance. 2.2 The attitudes toward on Diesel Engines subjects of the experimental group was at high level. ( = 4.48, SD = 0.52)
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account