DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.advisor ดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.author ณรงค์ แก้วสิงห์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:49Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:49Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7564
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยและพัฒนา (Research and development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 สํารวจโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา 426 วิทยาลัย (ใช้ประชากร) โดยการสํารวจจากฐานข้อมูลสถานศึกษาทั้งหมด 426 วิทยาลัยและวิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัญหาการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้อํานวยการวิทยาลัย หรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จํานวน 29 วิทยาลัย ได้มาโดยมาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 3 สร้าง รูปแบบการจัดสรรงบประมาณได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 10 คน และขั้นตอนที่ 4 ยืนยันรูปแบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้อํานวยการวิทยาลัยหรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จํานวน 301 วิทยาลัย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secord order confirmatory factor analysis) ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ1) ด้านนโยบาย 2) ด้านพันธกิจ 3) ด้านกลยุทธ์และ 4) ด้านสินทรัพย์และรายได้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ของโมเดลการวัดการจัดสรรงบประมาณภาพรวมในทุกด้าน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 173.844 มีองศาอิสระเท่ากับ 98 และดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ0.935 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ มีค่าระหว่าง .317-.837 แต่ละองค์ประกอบมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า แสดงว่า โครงสร้างของโมเดลการวัดการจัดสรรงบประมาณวัดได้ตรงตามทฤษฏี
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วิทยาลัยอาชีวศึกษา -- งบประมาณ
dc.subject งบประมาณการศึกษา
dc.subject งบประมาณ -- การจัดการ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
dc.title.alternative The development of budget lloction model for voctionl eduction college under The Office of Voctionl Eduction Commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of the research were to develop a budget allocation model for the vocational education colleges under the Office of Vocational Education Commission. The research process composed of four phases. Firstly, studying the structure and analyzing the data from 426 colleges. Secondly, studying problems of budget allocation from 29 directors or representatives, they were selected by stratified random sampling. The research tool was a structured interview. Thirdly, the construction of a budget allocation model through a focus group with 109 experts, and the last phase was the confirming of the developed model with 301 directors or representatives selected by stratified random sampling. The research tool was a questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and second order confirmatory factor analysis. The results of the research were as follows: 1) the budget allocation model for vocational education college under the Office of Vocational Education Commission composed of four factors, they were: policy, mission, strategy and asset and income, 2) the result of the second order confirmatory factor analysis was found that the model had corresponded to the empirical data with χ 2 = 173.844, df= 98, p= 0.0210, GFI= 0.935. The loading of each factor ranged from .317-.837 and was statistical significant at 0.05 level. The four factors namely, policy, mission, strategy and asset were consistent with theory.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account