DSpace Repository

รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มเยาวชนในหอพัก

Show simple item record

dc.contributor.author เสาวนีย์ ทองนพคุณ
dc.contributor.author พิศมัย หอมจำปา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/755
dc.description.abstract ลักษณะปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพัก จังหวัดชลบุรี (Developing Appropriate Model and strategies for HIV/AIDS Prevention and Alleviation of Yong Population Living in a Dormitory Setting in Chon buri Province) เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการณ์ปัจจุบัน วัยรุ่นและเยาวชนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิต นอกจากนี้วัยรุ่นและเยาวชนเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลให้ยังคงมีการติดเชื้อเอช ไอ วีในวัยรุ่นและเยาวชน ในปัจจุบันเยาวชนอายุ 10-24 ปี ในจังหวัดชลบุรีมีประมาณ 273,870 คน (คิดเป็นร้อยละ 24.5 จากประชากรกบางปี 2550) และเกือบครึ่งหนึ่งพักอาศัยในหอพักทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีมากกว่า 300 หอพักและมีที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มเยาวชนจังหวัดชลบุรีมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลย่อยในจังหวัดชลบุรี พบข้อมูลน่าสนใจว่าเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักหรือบ้านเช่าเหล่านี้มีบริบทชีวิตและพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ในสัดส่วนที่สูงกว่าการมีคู่นอนหลายคน การมีเพสสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่นอน การใช้สารเสพติดก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ฯ นอกจากนี้ยังมีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอในอัตราที่ต่ำ มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วี รวมทั้งการระบาดของเอดส์ในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์แบบร่วมคิดร่วมทำในกลุ่มผู้เกี่ยวช้องต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้รับผิดชอบสถานศึกษา ผู้ประกอบการหอพักทั้งในและนอกสถานศึกษา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี ศูนย์อนามัยที่ 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รวมทั้งเยาวชนในหอพัก ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดระบบการเรียนรู้จากข้อมูลและการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่ทันเหตุการณ์ รวมทั้ง สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในสังคมอีกทั้งทำให้เกิดระบบบริการและการประเมินผลดำเนินงานเพื่อป้องกัน ดูแล และแก้ไขปัญหาเอดส์ที่รอบด้านและมีความยั้งยืนในพื้นที่ วัตถุประสงค์ขอการดำเนินการ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาชนในหอพักจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี กลวิธีการดำเนินการ การศึกษาวิจัยการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และนำมาดำเนินการพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพัก จังหวัดชลบุรี ผลการดำเนินการ จากผลศึกษาวิจัยการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,717 คน พบว่าเป็นเยาวชนหญิงร้อยละ (ร้อยละ 63.3) มากกว่าเยาชนชาย ผลการเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาของเยาวชนอยู่ในระดับดี 2.50-2.99 ร้อยละ 27.9 เยาวชนส่วนมากได้รับค่าใช้จ่ายรายเดือนจากบิดาและมารดา หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ร้อยละ 64.7 ซึ่งรายได้ที่เยาวชนรับต่อเดือนมากที่ตั้งแต่ 4,501-6,000 บาท ร้อยละ 22.5 การพักอาศัยพบว่าเยาวชนที่ศึกษาส่วนมากพักอาศัยอยู่หอร่วมกับเพื่อน ร้อยละ 36.0 เยาวชนส่วนมากพักอยู่อาศัยร่วมกันตั้งแต่ 1-3 คน ร้อยละ 45.1 โดยมีบางส่วนเสียค่าที่พักเดือนละ 2,001-3,000 บาท ร้อยละ 16.0 และ เดือนละ มากกว่า 4,000 บาท ร้อยละ 10.5 ด้านการรับรู้ ทัศนคติ และความตระหนัก ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของเยาวชนจากจ้อสรุปได้ว่า เยาวชนในหอพักที่กำลังศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรี มีความตระหนักเกี่ยวกับเอดส์ที่เหมาะสมอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 52.9 เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุระหว่าง 15-19 ปี ร้อยละ 23.8 โดนมีเยาวชนที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ 16.1 และมีเยาวชนเพียงร้อยละ 11.6 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก/แฟน สำหรับแหล่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของเยาวชนกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ร้อยละ 15.5 รองลงมาคือ การรณรงค์ จัดนิทรรศการ แจกแผ่นพับ ร้อยละ 11.0 การจัดอบรม เข้าค่าย ร้อยละ 6.3 ตามลำดับในขณะเดียวกันการจัดกิจกรรมป้องกันเอดส์ในหอพักที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องการป้องกัน ร้อยละ 10.3 และการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเอดส์ ร้อยละ 5.8 การจัดกิจกรรมนันทนาการ กีฬา ร้อยละ 3.3 ตามลำดับ ในด้านการบริการสุขภาพทางเพศที่เยาวชนต้องการมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 5.1 รองลงมา คือ การให้ความรู้เรื่องเอดส์ และสายด่วนให้คำปรึกษา ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นในการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญนั้น เยาวชนส่วนใหญ่เห็นควร ติดตั้งตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 42.7 และสถานที่ที่อยากให้ติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญมากที่สุดได้ สถานศึกษา ร้อยละ 3.9 รองลงมาได้แก่ หน้าร้านสะดวกซื้อ และโรงแรม ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ สัมฤทธิ์ผลของโครงการ จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยจึงนำปัญหาและความต้องการของเยาวชนมาดำเนินการพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องการ และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชน จังหวัดชลบุรี โดยจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำเยาวชน โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีปทุม และมหาวิทยาบูรพา โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค พื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ชมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ จังหวัดชลบุรี สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข สำนักงานเทศบาลตำบลหนองตำลึง การพัฒนาสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง การจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำเยาวชนโดยครอบคลุมเนื้อหาด้านความสำคัญ บทบาท หน้าที่ของเครือข่ายแกนนำเยาชน พัฒนาทางเพศ วิถีชีวิตทางเพศ บทบาททางเพศ ความหลากหลายทางเพศ สุขภาพทางเพศ โรคติดต่อทางเพศและเอดส์ การตั้งครรภ์ การทำแท้ง และการคุมกำเนิดของเยาวชน ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ทักษะการสื่อสารและการให้คำปรึกษาทางเพศ เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ และเท่าทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การระบาดของโรค และพฤติกรรมเสี่ยงของการติดเชื้อเอช ไอ วี และสามารถนำไปบอกต่อให้กับกลุ่มเยาวชนในหอพัก โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้อย่างรอบด้าน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ และหาทางเลือกที่เมาะสมกับสภาวการณ์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และเยาวชนมีความพ้อมในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ พร้อมที่จะรับผิดชอบตอนเองและผู้เกี่ยวข้องเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินการ การที่เยาวชนมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วีได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะในการป้องกันตนเองนอกจากสถานการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วี ทักษะการปฏิเสธฯ ดังนั้นการดำเนินการควรสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย วิถีขีวิต และสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปก่อนที่จะดำเนินการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วีในกลุ่มเยาวชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหา ความต้องการ และองค์ความรู้เดิมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาให้ใช้ในการออกแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ข้อจำกัด 1. การสร้างความร่วมมือ / การดำเนินงานร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและกำหนดบทบาทในการทำงาน ยังไม่สามารถบูรณาการตามที่วางแผนไว้ จึงให้แผนการดำเนินงานเกิดความคลาดเคลื่อน 2. การบริหารจัดการด้านระยะเวลาและงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถที่จำดำเนินการโครงการได้อย่างเต็มศักยภาพ การดำเนินการต่อเนื่อง การสร้างและขยายผลแกนนำเยาวชนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในดรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีปทุม และมหาวิทยาบูรพา โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค พื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ชมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ จังหวัดชลบุรี สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข สำนักงานเทศบาลตำบลหนองตำลึง การพัฒนาระบบบริการจัดการศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน การสร้างความร่วมมือและดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนงานที่วางไว้ โดยการจัดสรรงบประมาณ และติดตาม ควบคุมกำกับให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และมีแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ 1. ความสามารถในการประสานความร่วมมือและสัมพันธ์ภาพกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น) ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ล้วนมีส่วนผลักดันให้กิจกรรมประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2. ในการทำงานเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพักควรมีการขับเคลื่อนร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ขมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ สถานีตำรวจ สถาบันการศึกษาฯ 3. การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนตามหลักสูตร ควรดำเนินการโดยใช้กิจกรรมเพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี โดยกิจกรรมจะต้องมีความต่อเนื่องและเกิดการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุดในเยาวชน 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเรื่องการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในหอหักหรือในสถานศึกษา เพื่อให้เยาวชนสามารถที่เข้าถึงถุงยางอนามัยได้อย่างทั่วถึง 5. สำนักวานสาธารณะสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการหอพัก ผลักดันให้มีการพัฒนาหอพักมาตรฐาน หอพักสร้างเสริมสุขภาพ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. . en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - การป้องกันและการควบคุม th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject โรคเอดส์ในวัยรุ่น th_TH
dc.title รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มเยาวชนในหอพัก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account