Abstract:
การศึกษาคุณภาพน้ำทะเลในเขตว่ายน้ำชายหาดพัทยาและหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ในระหว่างปี 2532-2533 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลบริเวณหาดพัทยาในปี 2532 เป็นดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 27.5-33.0 'C ความเค็ม 30.0-34.0 % ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.82-8.75 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 3.5-9.6 mg/1 ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม <2-16,000 MPN/100 ml และปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย <2-16,000 MPN/100 ml ส่วนในปี 2533 คุณภาพน้ำทะเลเป็นดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 27.0-32.0 'C ความเค็ม 30.0-35.0 % ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.85-8.41 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.0-8.9 % mg/1 ค่าปีโอดี 0.3-7.1 mg/1 ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม 20-92,00 MPN/100 ml และปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย <20- ≥24,000 MPN/100 ml คุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดพัทยามีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลงมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณพัทยาใต้และมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการไหว้น้ำ ซึ่งกำหนดไว้ให้มีค่าของปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวมได้ไม่เกิน 1,000 MPN/100 ml
สำหรับบริเวณหาดจอมเทียนนั้น พบว่าคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการว่ายน้ำโดยในปี 2532 พบว่าอุณหภูมิน้ำ 27.5-33.0 'C ความเค็ม 30.0-34.0 % ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.87-8.82 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.5-8.8 mg/1 ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม <2-920 MPN/100 ml และปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย <2-350 MPN/100 ml ส่วนในปี 2533 พบว่า อุณหภูมิน้ำ 27.0-32.0 'C ความเค็ม 31.0-35.0 % ความเป็นกรดเป็นด่าง 8.04-8.29 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.9-8.5 mg/1 ค่าปีโอดี 0.1-5.4 mg/1 ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม <2-240 MPN/100 ml และปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย <2-130 MPN/100 ml