DSpace Repository

การสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author ศศิธร จันทรมหา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7518
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิธีดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิด AIG (Automatic Item Generation) ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติ วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระยะที่ 3 การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2559 แล้ว จํานวน 30 คน ทดสอบแบบทดสอบทั้ง 2 ฉบับ แล้วนําผลการสอบมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สร้างโมเดลข้อสอบต้นแบบได้ 44 ข้อ จากข้อสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2553 ที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์แล้ว 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer และพิมพ์ URL ‘http://www.aigtest.com’ โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมในการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการสอบจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบจากแบบทดสอบต้นแบบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .96 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject คณิตศาสตร์ -- ข้อสอบและเฉลย -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
dc.subject นักเรียนประถมศึกษา -- คณิตศาสตร์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title การสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
dc.title.alternative Automtic item genertion in mthemtics ssessment with grde six students using computer softwre
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to construct grade 6 mathematics item models, 2) to develop computer software for the automatic generation of Grade 6 mathematics test items, and 3) to study the relationship between test results obtained from the prototype test, and those obtained by a test automatically generated by the software. The research was divided into three phases as follows: 1) Construction of an O-NET examination in mathematics using item models based on automatic item generation (AIG) concept; 2) Development of computer software for the automatic generation of Grade 6 mathematics items; and 3), determination of the relationship between the test scores obtained from the prototype test and the test constructed by using the software developed for the study. The sample involved 30 students who had completed Grade 6. Data were analyzed using Pearson's Correlation Coefficient. The results were as follows: 1. Forty four prototype test items were generated by using O-NET examinations from the academic year 2008 to 2010, with item quality analyzed by applying the three-parameter logistic model from item response theory (IRT). 2. The test created by the computer software developed for the study was made available at http://www.aigtest.com, and was judged to be highly suitable for Grade 6 students. 3. A test created from the computer software was positively correlated with the prototype test, r=0.96, significant at the .01 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account