dc.contributor.advisor |
อุทัยพร ไก่แก้ว |
|
dc.contributor.advisor |
เสรี ชัดแช้ม |
|
dc.contributor.author |
วีระ ศิลปรัตนาภรณ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:43Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:43Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7517 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การจัดการธุรกิจชุมชน เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยอาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก เป็นกิจกรรมการผลิตที่เกื้อกูลเหมาะสมต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศของแต่ละชุมชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์และจัดลำดับด้านและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมการประเมินแบบออนไลน์และ 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัลด้วยสถิติทดสอบ แมน-วิทนีย์ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย 7 ด้าน (22 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) ด้านลูกค้า 2) ด้านการจัดการบัญชีการเงิน 3) ด้านการผลิต 4) ด้านการเงิน 5) ด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล 6) ด้านการจัดการความรู้และข้อมูลทางธุรกิจ และ 7) ด้านผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนและเครือข่าย สามารถจำแนกระดับการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน) ถึงระดับที่ 5 (ดีมาก) 2. ผลการประเมินโปรแกรมคอมพิวเตอร์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้ และ 3. ผลการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัล ปรากฏว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัลมีการจัดการธุรกิจดีกว่ากลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรมีคุณภาพดีเชื่อถือได้และมีความตรงเชิงสภาพ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การจัดการธุรกิจชุมชน |
|
dc.subject |
ธุรกิจชุมชน |
|
dc.subject |
ธุรกิจในครัวเรือน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.title |
การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร |
|
dc.title.alternative |
The development of ssessment criteri for the mngement of women’s frm community business |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Community business management is the process of conducting a business activity based on local inputs. It is a productive activity that is suitable for the lifestyle and the ecosystem of each community. The purposes of this research were 1) to develop assessment criteria for the management of a women’s farm community businessusing e-Delphi technique, and to rank the developed components and indicators by using the Analytic Hierarchy Process; 2) to develop an online assessment criteria program; and 3) to compare the results of business management system between a general women’s farm community business and an outstanding women’s farm community business. Data were analyzed using the Mann-Whitney U test. The results were as follows: (1) The assessment criteria developed for the management of a women’s farm community business consisted of seven components with 22 indicators: The seven components were: 1) customer, 2) financial accounting management, 3) production, 4) financial, 5) human resources management, 6) knowledge management, and 7) leader and networking. Business management was categorized using five levels, from 1 (urgently needing improvement) to 5 (excellent). (2) The online program developed for assessing the management of a women’s farm community business was judged suitable for use. (3) Comparison of the business management systems used by the general women’s farm community business and by the outstanding women’s farm community business revealed that the outstanding women’s farm community businesshad better business management thanthe general women’s farm community business at the .01 level. These results indicate that the assessment criteria were of good quality, reliable and concurrent validity |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|