DSpace Repository

รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์โดยกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.author ชมนาด พรมมิจิตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:02:35Z
dc.date.available 2023-05-12T04:02:35Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7504
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงาน วิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนาโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนจากโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1) นักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และวิชาวิทยาศาสตร์ตามสาขาวิชาที่เรียน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 829 คน 2) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 26 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 829 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและประยุกต์ใช้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.725-0.851 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ตัวแปรบทบาทของผู้ปกครอง ตัวแปร บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้พบว่า ตัวแปรทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แปรผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรจิตวิทยาศาสตร์ ตัวแปรจิตวิทยาศาสตร์ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรบทบาท ครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ และตัวแปรคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ พบว่า ทุกตัวแปร โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ โครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับข้อมูล เชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 1482.37; p มีค่าเท่ากับ .000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 744 ค่า 2/ df = 1.992 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ .98 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ .92 ค่า AGFI มีค่าเท่ากับ .91 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ย ของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.035 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ตัวแปรตาม คือ คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.520 แสดงว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของ ตัวแปรคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ร้อยละ 52.00 3. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนจากโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อ คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแสวงหาความร่วมมือ 2) ขั้นวิเคราะห์สภาพปัญหาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ 3) ขั้นกำหนดแผนงาน 4) ขั้นปฏิบัติ ตามแผน 5) ขั้นกำกับ ติดตาม ดูแลการปฏิบัติ 6) ขั้นสำรวจข้อบกพร่องจากการปฏิบัติที่ผ่านมา 7) ขั้นทบทวนจุดมุ่งหมายใหม่ ผลการใช้รูปแบบ พบว่า คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ทุกโครงงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านเนื้อหาโครงงาน ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการนำเสนอผลงาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การสอนแบบโครงงาน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์โดยกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง
dc.title.alternative Instructionl model for improving qulity of scientific project work through collbortive ction reserch
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were as follows: 1) to analyze factor affecting to quality of scientific projects in Vocational Education Institutions, 2) to develop the causal relationship highlighting factors affecting the quality of science projects in Vocational Education Institution, and 3) to develop an instructional model from the causal relationship of factors affecting the quality of science projects. Research samples included 1) 829 third year students who used to study some science subjects to improve their life skills in Vocational Education Institution, 2) 26 teachers of science, 3) Parents of 3rd year vocational certificate students under the Office of the Vocational Education Commission. The 829 students were selected by Multi-Stage Random Sampling. The data collection instruments was a questionnaire which was developed by the researcher. The reliability was between 0.725-0.851. To analyse the data, there were basic statistical analysis, analyzing confirmation elements and the causal relationship of factors affecting the quality of science projects of institute in Vocational Education Institutions. The results of these analyses showed that 1. The analysis of the causal relationship of factors affecting the quality of science projects in Vocational Education Institutions revealed that Parent role variable, Atmospheric variables that promote learning, Scientific process skills variable, Scientific process skills variable, Science achievement, Award science achievement variable, Psychological variables, Psychological variables, Motivation variation, Teacher role in science project advisors variables and quality of scientific project variables were consistent with empirical data. 2. To verify the causal relationship of the factors affecting the quality of science projects for institute in Vocational Education Institutions with the empirical data, this study reports that the model was consistent with empirical data which was considered by the chi-squared equation was 1482.37; p is .000 at an independent degree of 744. = 1.992. The CFI value was .98. The GFI value was .92. The AGFI value was .91 and the root index of the mean RMSEA was 0.035. The predictive coefficient of the dependent variable is the quality of the science project in vocational institutes under the Office of the Vocational Education Commission, equaled to 0.520. It indicated that variables in the model could describe variance of the variable quality science projects of the schools under the Office of Vocational Education Commission, for 52.00 percent. 3. To develop the instructional model from the causal relationship of the factors affecting the quality of science projects, this study reveals 7 steps as; 1) Steps to seek cooperation, 2) Steps to analyze the quality of science projects, 3) Steps to plan, 4) Steps to follow the plan, 5) Steps to follow up, 6) Steps to explore deficiencies from past practice, 7) Review the new aim.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account