DSpace Repository

การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษา : การวิเคราะห์อภิมาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.author พิษณุ ผิวทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7494
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษา และสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษาด้วยการวิเคราะห์ อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา อาชีวศึกษาที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2558 จากมหาวิทยาลัย 23 แห่ง จำนวน 95 เล่ม ผลการวิจัย ประกอบด้วย ค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 450 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์อภิมาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์บรรยายคุณลักษณะของงานวิจัย การรวมผลการวิจัย การเปรียบเทียบ ความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐาน การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรคุณลักษณะวิจัยที่มีต่อ ค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพของนักเรียนอาชีวศึกษาด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและ การวิเคราะห์การถดถอยพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยศึกษาตัวแปรที่เป็นสาเหตุของคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ตัวแปรสาเหตุเน้นศึกษา วิธีสอนแบบต่าง ๆ ลักษณะของนักเรียนและลักษณะของครอบครัว กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน ช่างอุตสาหกรรมในวิทยาลัยเทคนิคมากที่สุดสาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ หลักสูตรและ การสอน ค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ได้มาจากงานวิจัยสหสัมพันธ์ ค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษาที่ได้จากงานวิจัยทั้ง 95 เล่ม มีความแตกต่างกัน ตามคุณลักษณะของงานวิจัย ดัชนีมาตรฐานคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น ตามจำนวนหน้าหมดของงานวิจัย ช่วงเวลาที่ทำวิจัย สถาบันและสาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัย สถานศึกษาที่เป็นพื้นที่วิจัย การตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง ลักษณะของครอบครัวและคะแนน คุณภาพงานวิจัยที่สูง และเมื่อวิเคราะห์โดยพิจารณาคุณลักษณะของงานวิจัยเป็น 2 ระดับ พบว่า ระดับภายในเล่มวิจัยได้แก่ คะแนนรวมประเมินคุณภาพงานวิจัย ตัวแปรดัมมี่งานวิจัยที่หา ความเที่ยงของเครื่องมือด้วยวิธีแอลฟา และลักษณะของนักเรียน ส่วนในระดับเล่มวิจัย ได้แก่ การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง จำนวนหน้ารวมภาคผนวก และจำนวนสมมติฐาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา -- วิจัย
dc.subject การวิเคราะห์อภิมาน
dc.subject อาชีวศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษา : การวิเคราะห์อภิมาน
dc.title.alternative A reserch synthesis of fctors influencing the performnce of students in voctionl eduction: met-nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study characteristics of research involving quality of students in vocational education and to synthesize the research findings through meta-analysis. The samples of the synthesis were 95 primary studies related to the development of students’ performance published durings 1997-2015 from 23 universities. The research outcomes composed of 450 standard indices (adjusted correlation coefficient). Quantitative data was analyzed through using meta-analysis method; descriptive, crosstabulation, ANOVA, hierarchical stepwise multiple regression and Hierarchical linear Model. The research findings revealed that most studies were an experimental studies which conducted as thesis for M.A. graduation. Independent variables of these studies were teaching methods, students characteristics and family characteristics. Most students were drawn from Technical College and their majors were Industrial Machinery Mechanics. The Curriculum and Instruction Sciences were the main area which conducted was the student’s. Most standard indices were done and reported by correlation coefficient adjusted for bias through Hedges’s J factor. All means of standard indices of student performances were statistically difference among the research characteristic. The multiple regression coefficients showed that the standard indices of research on student performances increase through the number of pages of research, year of study, vocational institutes set of directional hypothesis, family characteristics, and quality scores of primary research.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account