DSpace Repository

สถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สุนันทา โอศิริ th
dc.contributor.author รติกร ประเสริฐไทยเจริญ th
dc.contributor.author สุภัทรา ชลพนารักษ์ th
dc.contributor.author จิระสันต์ มีรัตน์ th
dc.contributor.author ประมุข โอศิริ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/748
dc.description.abstract ภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือจังหวัดตราด จังหวัดจันทรบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลแหล่งใหญ่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้เป็นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยง และการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเล พบว่ามีการทำอาชีพและดำเนินธุรกิจบริเวณชายฝั่งและในพื้นที่ต่าง ๆ ของแต่ละจังหวัด ได้สำรวจแหล่งผลิต ขายส่ง และจำหน่ายอาหารทะเล 230 แห่ง แหล่งที่มาของอาหารทะเลแห้ง/แปรรูป ส่วนใหญ่มาจาก บ้านเพ จ.ระยอง และชายฝั่ง ปัญหาคุณภาพส่วนใหญ่ที่พบ คือ มีเชื้อราเพราะอบไม่แห้ง เน่าเสีย เก็บได้ไม่นาน มีกลิ่น และไม่สด ผลการตรวจสิ่งปนเปื้อนเบื้องต้นในอาหารทะเล ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2549 รวม 1,243 รายการ พบฟอร์มาลิน 39 รายการ จาก 921 รายการ (4.23%) ตรวจพบบอแรกซ์ 10 รายการ จาก 16 รายการ (62.5%) ผลการตรวจในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 – กันยายน พ.ศ. 2551 รวม 1,853 รายการ พบสารบอแรกซ์ 11 รายการจาก 277 รายการ (3.9 %) พบสารฟอร์มาลิน 36 รายการจาก 1,106 รายการ (3.3%) พบยาฆ่าแมลง 1 รายการจาก 215 รายการ (0.5%) ผลการทดสอบโลหะหนักทางห้องปฏิบัติการรวม 224 รายการ พบการปนเปื้อน 183 รายการ (81.7%) แคดเมี่ยม พบ 51 รายการ (91.1%)ในทุกพื้นที่ ค่าเฉี่ย 0.693 mg/kg ค่าสูงสุด 5.209 mg/kg ที่บ้านเพ จ.ระยาง ตกมาตรฐาน 6 รายการ (10.7%) เป็นประเภทปลาหมึกทั้งหมด ปรอทพบทั้ง 56 รายการ (100%) ในประเภทปลามากที่สุด ค่าเฉลี่ย 0.621 mg/kg ค่าสูงสุด 7.277 mg/kg ที่มาบตาพุด จ.ระยอง ตกมาตรฐาน 14 รายการ (25.0%) ตะกั่วพบ 20 รายการ (35.7%) ที่หนองมน จ.ชลบุรี 19 รายการ อ.แหลมงอบ จ.ตราด 1 รายการ ไม่พบที่ จ.ระยอง และ จ.จันทรบุรี โดยพบในประเภทหอยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 0.373 mg/kg ตกมาตรฐาน 1 รายการ (1.79%) สารหนู พบทั้ง 56 รายการ (100%) ในทุกพื้นที่ ในอาหารทะเลทุกรายการ พบมากที่สุดในประเภทหมึก ค่าเฉลี่ย 7.075 mg/kg ค่าสูงสุด 30.564 mg/kg ที่ตลากหนองมน จ.ชลบุรี ผลทดสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ Aerobic plate count 56 รายหาร พบปนเปื้อนทุกรายการ ค่าเฉลี่ย 5.1 x 10^9 cfu/g ค่าสูงสุดที่พบคือ 2.3 x 10¹¹ cfu/g ตกมาตรฐาน 29 รายการ (51.8%) เชื้อรา 56 รายการ พบปะเปื้อนทุกรายการ ค่าเฉลี่ย 3.17 x 10² cfu/g ค่าสูงสุดที่พบคือ3.9 x 10³ cfu/g บริเวณที่พบมากที่สุดคือ ตลาดหนองมน จ.ชลบุรี ตกมาตรฐาน 10 รายการ (17.8%) การจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหาร มีการตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหารการตรวจสอบเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร การรณรงค์บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย การอบรมผู้จำหน่ายอาหารทะเล การประชุมกลุ่มแกนนำผู้จำหน่ายอาหารทะเล การจัดตั้งเครือข่ายโครงการอาหารทะเลปลอดภัย และ การนำเสนอต่อผู้บริหารในระดับนโยบายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อลดการปนเปื้อนในอาหารทะเลภาคตะวันออก th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารทะเลปลอดภัย พ.ศ. 2551-52 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความปลอดภัยทางด้านอาหาร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject อาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัย th_TH
dc.title สถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Situation, risk factors and management for sea food safety in the east en
dc.type Research
dc.year 2552


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account