DSpace Repository

การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author รัตติกาล สารกอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:03Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:03Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7487
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา 4 ฉบับ บนแนวคิดของวิธีการแบบลิเคิร์ต แบบออสกูด แบบกัตต์แมน และแบบดุลยพินิจทางจริยธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างและความสอดคล้องระหว่างโมเดลการวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา เมื่อใช้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดทั้ง 4 ฉบับ 3) เพื่อวิเคราะห์โปรไฟล์การเปลี่ยนแปลงความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาเมื่อจำแนกตามระดับเกรดเฉลี่ยสะสมและชั้นปีที่ศึกษาและ 4) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับเกรดเฉลี่ยสะสมและชั้นปีที่ศึกษาที่มีต่อระดับความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1-4 ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งปีการศึกษา 2560 จำนวน 340 คน รวมทั้งสิ้น 16 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย แบบวัดตามเทคนิคของลิเคิร์ต แบบวัดตามเทคนิคของออสกูด แบบวัดตามเทคนิคของกัตต์แมน และแบบวัดตามวิธีการประเมินดุลยพินิจเชิงจริยธรรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) และการวิเคราะห์โปรไฟล์การเปลี่ยนแปลง (Profile analysis) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามเทคนิคของออสกูด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation coefficient) รายด้านทางบวกสูงที่สุด รองลงมาคือแบบวัดความไม่ซื่อสตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามเทคนิคของลิเคิร์ต และแบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามวิธีการประเมินดุลยพินิจเชิงจริยธรรมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ รายด้านทางบวกต่ำที่สุด ส่วนแบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามเทคนิคของกัตต์แมนมีค่าสัมประสิทธิ์แบบแผนการตอบใหม่รายด้าน มีความเป็นสเกล 2. โมเดลการวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามเทคนิคของลิเคิร์ตมีพิสัย ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.34-0.48 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โมเดลการวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามเทคนิคของของออสกูด มีพิสัยค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.34-0.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และโมเดลการวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามวิธีการประเมินดุลยพินิจเชิงจริยธรรมมีพิสัยค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.19-0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวก มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง 3. ผลการวิเคราะห์โปรไฟล์การเปลี่ยนแปลงความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาเมื่อจำแนกตามระดับเกรดเฉลี่ยสะสมและจำแนกตามชั้นปีที่ศึกษาของเครื่องมือวัดทั้ง 4 ฉบับ มีลักษณะเหมือนกัน พบว่า โปรไฟล์การเปลี่ยนแปลงความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา มีระดับไม่แตกต่างกัน แต่รูปทรงของโปรไฟล์ทั้งสองกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งส่งผลให้โปรไฟลข์องความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการอย่างน้อย 1 กลุ่ม มีลักษณะไม่ราบเรียบ เนื่องจากค่าเฉลี่ยของความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการทั้ง 3 ค่าที่ตอบสนองต่อกลุ่มนักศึกษาทั้งสองระดับ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่เท่ากันทั้ง 3 ค่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับเกรดเฉลี่ยสะสมและชั้นปีที่ศึกษาที่มีต่อระดับความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามแนวคิดของออสกูด พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนแบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามแนวคิดของลิเคิร์ต แบบวัดความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามแนวคิดของกัตต์แมน และแบบความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาตามวิธีการประเมินดุลยพินิจเชิงจริยธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แบบทดสอบ -- ความเที่ยง
dc.subject นักศึกษา -- จริยธรรม -- วิจัย
dc.subject การทุจริต (การศึกษา)
dc.subject การบริหารองค์ความรู้
dc.subject ความซื่อสัตย์ -- แบบทดสอบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การวัดผลทางการศึกษา
dc.title การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา
dc.title.alternative Assessing the vlidty of models for mesuring nd nlyzing the chngesin cdemic dishonesty of university students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of the research were; 1) to design and assess the quality of the research instrument for measuring academic dishonesty of the university students based on the concepts of Likert’s technique, Osgood’s technique, Guttman’s Scale and the Defining Issues Test (DIT), 2) to analyze the differences and consistency of the models for measuring academic dishonesty of the students, 3) to analyze the profiles of the changes in academic dishonesty of the students regarding the different grade average, and 4) to analyze the interaction between the grade average and the year of study of the students in academic dishonesty. The samples were three hundred and forty 1st -4 th year teacher students from sixteen classes of one university in 2017. They were selected by multi-stage random sampling. The research instruments were four sets of an academic dishonesty test: Likert’s technique, Osgood’s technique, Guttman’s Scale and the Defining Issues Test (DIT). The data were analyzed by basic statistics, Explorative Factor Analysis (EFA), Confirmatory factor analysis (CFA) and Profile analysis. Results of the research were as follows: 1. The research results indicated that the two maximum correlation coefficient values of the academic dishonesty test of the students were Osgood’s technique and Likert’s technique respectively. The minimum correlation coefficient value of the academic dishonesty test was the Defining Issues Test. The scale of the Coefficient of Reproducibility (CR) was Guttman’s Scale. 2. The range of the model for measuring academic dishonesty of Likert’s technique was between .34 and .48 at the .01 level of the statistical significance. The range of the ช model for measuring academic dishonesty of Osgood’s technique was between .34 and .50 at the .01 level of the statistical significance. The range of the model for measuring academic dishonesty of the Defining Issues Test was between .19 and .41 at the .01 level of the statistical significance. The component values of all indicators regarding the construct validity were positive. 3. The findings revealed that the Profile analysis of the students for the changes in academic dishonesty by the four testing instruments regarding the different grade averages and student’s years of study was not different. The level of the changing profile of the students was not different. However, the shape of the interaction profile affected the academic dishonesty of one experimental group, where the shape was not smooth. The findings indicated that three academic dishonesty values of the students affected significantly the three response values of two groups with the different grade average at the .05 level. 4. The interaction effect between the grade average and year of the study of the students on the academic dishonesty assessed by Osgood’s technique was significantly different at the .01 level. Whereas, the interaction effects between the grade average and year of the students on the academic dishonesty assessed by Likert’s technique,Guttman’s Scale and the Defining Issues Test (DIT) were not significantly different at the .01 level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account