dc.contributor.advisor |
สมพงษ์ ปั้นหุ่น |
|
dc.contributor.advisor |
สุเมธ งามกนก |
|
dc.contributor.author |
จเร พัฒนผล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:59:03Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:59:03Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7486 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนา จิตสาธารณะนักเรียน ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนา จิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี และ 3) รับรองกลยุทธ์ การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทาง/ วิธีการในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน และศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน โดยสอบถามจากผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานระบบดูช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 390 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ในสถานการณ์จริง โดยผู้วิจัยนำกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน ไปทดลองใช้กับโรงเรียนบ้านซอยสองและโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 แล้วนำ ผลการทดลองใช้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอนที่ 4 รับรองกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นโดยการประเมินความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา หลังจากได้ปรับปรุงกลยุทธ์จากการทดลองใช้ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 ส่งเสริมนโยบายพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน แนวทางที่ 2 ด้านการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการจิตสาธารณะแนวทางที่ 3 ด้านการพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่ จิตสาธารณะ และแนวทางที่ 4 การส่งเสริมความเข้มแข็งของสภานักเรียน เพื่อการปลุกกระแสจิตสาธารณะอย่างยั่งยืนรวมทั้งหมด 2. กลยุทธ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 16 กลยุทธ์ย่อย และ 64 กลวิธี ได้แก่ 1) กลยุทธ์การส่งเสริมนโยบายการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน 2) กลยุทธ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ จิตสาธารณะ 3) กลยุทธ์การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่จิตสาธารณะและ 4) กลยุทธ์ส่งเสริมความเข้มแข็งของสภานักเรียน เพื่อปลุกกระแสจิตสาธารณะอย่างยั่งยืน 3. ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของผู้บริหารสถานศึกษาครูและศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ที่มีต่อคู่มือ กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
นักเรียนประถมศึกษา |
|
dc.subject |
จิตสาธารณะ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
จิตสาธารณะ -- การพัฒนา |
|
dc.title |
กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
Strtegiesfor developing public mind ofprimry studentsin the primry schools t Chnthburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to: 1) study management conditions that promote developing primary school students’ public mind, 2) develop strategies for promoting the primary school students’ public mind, and 3) validate the strategies for the students’ public mind development The research was conducted through 4 phases as follows: Phase 1) studying management conditions and ways to develop primary school students’ public mind using questionnaire to examine 390 experts opinion. The experts consisted of schools directors, deputy school directors, teachers who serve as academic supervisors, teachers who serve as supervisors, education committee, and parents. Phase 2) drafting tentative strategies for primary schools students’ public mind development through In-depth interviews with 12 educational experts and validating the draft by group discussion of 9 educational experts. Phase 3) trying out the strategies for students’ public mind development in 2 primary schools (Bansoisong School and Anubanchanthaburi School) in Chanthaburi province. Phase 4) Evaluating the developed strategies for developing the primary school students. The results were as follows; 1. The management conditions that promote developing primary school students’ public mind was at a high level. There were 4 guidelines for developing students’ public mind include 1)Promote policy to develop students’ public mind, 2)Development of learning activities to integrate with public mental, 3)Development of activities to reduce learning time and add time to public mind, and 4)Strengthening Student Council. 2. The strategies created for developing primary school students’ public mind composed of4 strategies, 16 sub strategies and 64 techniques, they were;1)promoting the strategy to develop students’ public mind, 2) the strategy to develop learning activities with the integration of public mental, 3) the strategy of reducing learning time and add time to public mind, and 4) the strategy to strengthening student council to stimulate the sustainability of the students public mind 3. The mean score of the appropriateness of the handbook for develop students’ public mind in primary schools as a whole was at a high level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|