DSpace Repository

สถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สุนันทา โอศิริ th
dc.contributor.author รติกร ประเสริฐไทยเจริญ th
dc.contributor.author ศักดิ์นเรศ กลิ่นกุหลาบทอง th
dc.contributor.author สุพัทรา ชลพนารักษ์ th
dc.contributor.author จิระสันต์ มีรัตน์ th
dc.contributor.author ณัฐวุฒิ โอศิริ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/747
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความชุกของสิ่งปนเปื้อนชนิดต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนที่พบบ่อยในวงจรอาหารทะเลภาคตะวันออก แนวทางการลดการปนเปื้อน และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน องค์การต่าง ๆ เพื่อลดการปนเปื้อนในอาหารทะเลภาคตะวันออก และประเมินผลสำเร็จและความยั่งยืน ผลการวิเคราะห์ความชุกของสิ่งปนเปื้อนในอาหารทะเล ตามโครงการรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ใน 9 จังหวัดของภาคตะวันออก มีการตรวจ 1243 รายการ ตรวจพบฟอร์มาลิน 39 รายการ จากการตรวจ 921 รายการ (4.23%) พบส่วนใหญ่ในปลาหมึกกรอบ ปลาหมึกสด ปลา กุ้ง ตรวจพบบอแรกซ์ 10 รายการ จากการตรวจ 16 รายการ (65.5%) คือ ในปลาบด ส่วนการตรวจอื่น ๆ คือ สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง และซาลิซิลิค ไม่พบการปนเปื้อน การสำรวจร้านค้า/ แผงลอยที่จำหน่ายอาหาร ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 ในพื้นที่หนองมน บางพระ อ่างศิลา ตลาดใหม่ ศรีราชา นาเกลือ จังหวัดชลบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีการจำหน่ายสินค้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมด 230 แห่ง มีอาหารทะเลที่จำหน่ายรวม 404 รายการแบ่งเป็น อาหารสด 168 รายการ (41.6%) อาหารแปรรูป 138 รายการ (34.2%) และอาหารแห้ง 98 รายการ (24.3%) ปัญหาคุณภาพของสินค้าส่วนใหญ่ที่พบ คือ พบเชื้อราเพราะอบไม่แห้ง รองลงมาคือ เน่าเสีย เก็บได้ไม่นาน แหล่งที่มาของอาหารทะเลส่วนใหญ่มาจาก บ้านเพ จ. ระยอง หาดวอนนภา จ. ชลบุรี ตลาดใหมี ชลบุรี และอื่น ๆ ผลการสำรวจผู้ผลิตอาหารทะเลบริเวณหาดวอนนภา บางแสน จังหวัดชลบุรี มีการทำกุ้งแห้ง พบว่ากระบวนการผลิตยังไม่ถูกสุขลักษณะ ผลการประชุมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนและเสนอแนะการดำเนินการเพื่อให้อาหารทะเลปลอดภัย ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ การสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่น การจัดตั้งศูนย์ที่จะใช้ในการตรวจสารในอาหารทะเลและรับรองมาตรฐานส่งออก และให้ภาควิชาการหาวิธีการทำให้กุ้งมีสีแดงโดยไม่ใช้สีสังเคราะห์ตลอดจนหาวิธีทำให้ของสดไม่เน่าเสียโดยที่ไม่ต้องใช้สารกันเสียที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มแกนนำผู้จำหน่ายอาหารทะเล บริเวณตลาดหนองมน ที่มีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการคือ ปัญหาสินค้าจำพวกปลาหมึกอบต่าง ๆ อบมาไม่แห้ง ทำให้มีราขึ้น ผลการอบรมผู้จำหน่ายอาหารทะเล โดยร่วมมือกับเทศบาลเมืองแสนสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ในระดับดี ถึง ดีมาก และจะนำความรู้ที่ได้กลับไปปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น และต้องการให้แนะนำการพัฒนาสู่สินค้ามาตรฐาน แบ่งบรรจุโดยมีเครื่องหมาย อย. กำกับ ทั้งนี้เทศบาลเมืองแสนสุข จะดำเนินการจัดการประชุมอีกให้ผู้ผลิต/ ผู้จำหน่ายทุกสถานประกอบการเข้าร่วม และจัดประชุมสำหรับผู้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในพื้นที่นี้ด้วยให้ตระหนักในด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารทะเลปลอดภัย ปีที่ 1 พ.ศ. 2550 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความปลอดภัยทางด้านอาหาร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject อาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัย th_TH
dc.subject อาหารทะเล - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.title สถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Situation, risk factors and management for sea food safety in the East en
dc.type Research
dc.year 2550


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account