DSpace Repository

การพัฒนาระบบฝึกอบรมภควันตภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisor พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.author อุบลวรรณ ลิ้มสกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7478
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ ฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 5) เพื่อประเมินรับรอง ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จํานวน 9 คน 2) นิสิต ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) แบบทดสอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ ฯ และ 4) แบบประเมินรับรองระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test Dependent samples) และค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2 ) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) บริบท ได้แก่ การฝึกอบรมภควันตภาพ ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ปัจจัยนําเข้าได้แก่ วัตถุประสงค์การฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้ให้การฝึกอบรม เนื้อหา การฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คู่มือการฝึกอบรม อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งสนับสนุน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร 3) กระบวนการฝึกอบรม ได้แก่ ขั้นก่อนฝึกอบรม ขั้นระหว่างฝึกอบรม ขั้นหลังฝึกอบรม 4) ผลลัพธ์ได้แก่ สมรรถนะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ความก้าวหน้าในการฝึกอบรม ความพึงพอใจ 5) ผลย้อนกลับ ได้แก่ คะแนนจากการทําแบบทดสอบ คะแนนการประเมินผลงาน ความพึงใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่มีต่อระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบฝึกอบรมของหน่วยฝึกอบรม 5 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 = 81.85/ 80.33, หน่วยที่ 2 = 81.67/ 80.33, หน่วยที่ 3= 81.11/ 80.67, หน่วยที่ 4 = 82.44/ 81.33 และหน่วยที่ 5 = 81.85/ 81.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด E1 / E2 = 80/ 80 3. ผลการประเมินความก้าวหน้าด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯ พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความก้าวหน้าด้านสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อระบบ ฝึกอบรมภควันตภาพ ฯ ระดับมากที่สุด ( X = 4.51) 5. ผลการประเมินรับรองระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ( X = 4.27)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาแบบองค์รวม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะศึกษาศาสตร์
dc.subject เทคโนโลยีทางการศึกษา -- ไทย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.title การพัฒนาระบบฝึกอบรมภควันตภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternative Development of ubiquitous trining system for enhncing informtion nd communiction technology competency for burph university fculty of eduction students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to develop a ubiquitous training system for information and communication technology competency. The specific objectives were; 1) to develop a ubiquitous training system, 2) to measure the efficiency of the ubiquitous training system, 3) to study the progress of information and communication technology competency of the trainees after learning form the developed ubiquitous training system, 4) to study the trainees’ satisfaction towards the developed ubiquitous training system, 5) to verify of the developed ubiquitous trainingsystem by the experts. The research sample consisted of the following groups; 1) Nine experts in educational technology and information and communication technology. 2) Thirty undergraduate students at the Education Faculty, Burapha University. The research instruments were1) a ubiquitous training system for information and communication technology competency 2) the information and communication technology competency test, 3) the satisfaction questionnaire towards the ubiquitous training system. 4) The verify form by the experts. The statistics used were mean, standard deviation, t-test, and efficiency criterion (E1/ E2 ). The research results were as follows; 1. The ubiquitous training system for information and communication technology competency of the undergraduate students. consisted of five main components. 1) Context: Ubiquitous training, readiness of information technology and communication equipment, internet network, information technology and communication skill. 2) Input factors consisted of, training objectives, trainee, trainer, training content, training media, internet network system, training ช manual, information technology equipment, supporting resources, and contact channel. 3) Training processes; pre-training, while training, and after training. 4) Output consisted of, portfolio, training progress, and satisfaction. 5) Feedback consisted of, testing score, portfolio evaluation score, and satisfaction level of trainee for the developed ubiquitous training system. 2. The efficiency of the training system for all five training units were 81.85/80.33, 81.67/80.33, 81.11/80.67, 82.44/81.33, and 81.85/81.00 they all met the 80/80 criteria. 3. The progress of the technology competency after being trained by the was ubiquitous training system for information and communication technology that it had increased at level of .01 significance. 4. The trainee satisfaction towards the ubiquitous training system for information and communication technology competency was at the highest level, ( X =4.51). 5. The experts verification the ubiquitous training system for information and communication technology competency of Burapha University Faculty of students was at high level, ( X = 4.27).
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account