DSpace Repository

การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.advisor สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.author วัณยรัตน์ คุณาพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7477
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน สังเคราะห์กระบวนการการปรับตัวจากประสบการณ์ของนักศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิผลกระบวนการปรับตัวและทางเลือกในการนำไปใช้ของนักศึกษา การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดในระดับมาก คือ มีเวลาพักผ่อนหย่อนใจน้อยมาก ด้านความจำเป็นต่อร่างกาย มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดระดับมาก คือ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่ครบทุกประเภท ด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงสุดในระดับปานกลาง คือ มีหลายรายวิชาที่นักศึกษารู้สึกว่า ไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียนอย่างแท้จริง 2. กระบวนการปรับตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมี 2 ลักษณะ รวม 4 กระบวนการ คือ ลักษณะที่ 1 การปรับตัวเบื้องต้น ใช้กระบวนการที่ 1 วิธีการเบื้องต้น ได้แก่ การเพิ่มความพยายาม และการปรับหรือเปลี่ยนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลักษณะที่ 2 ถ้าการปรับตัวเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสาเหตุร่วมทางจิตใจ ใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับสาเหตุนั้น คือ กระบวนการที่ 2 ความคับข้องใจ: ใช้วิธีการจัดการความคับข้องใจ ได้แก่ การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมถอยหลัง กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้งใจ: ใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งใจ ได้แก่ การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การเผชิญความจริง และ การหลีกหนีความจริง กระบวนการที่ 4 ความเครียด: ใช้วิธีการจัดการความเครียด ได้แก่ การบำบัดทางธรรมชาติ และใช้กลไกทางจิต 3. ประสิทธิผลของกระบวนการปรับตัวเบื้องต้น ด้วยกระบวนการที่ 1 ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความจำเป็นต่อร่างกาย และด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จ ทุกด้านในระดับมาก กระบวนการที่ 2 ความคับข้องใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก กระบวนการที่ 3 ความขัดแย้งใจ มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก และกระบวนการที่ 4 ความเครียด มีค่าเฉลี่ยรวมการปรับตัวที่ประสบความสำเร็จในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยพิจารณาจากสมการจำแนกกลุ่มของทุกกระบวนการ พบว่า สามารถจำแนกกลุ่มที่ปรับตัวได้กับกลุ่มปรับตัวไม่ได้ออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์มากที่สุดของแต่ละสมการจัดประเภทในรูปคะแนนดิบของกลุ่มที่ ปรับตัวได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ คือ กระบวนการที่ 1 ได้แก่ การปรับเปลี่ยนเป้าหมาย (14.90) กระบวนการ 2 ได้แก่ การควบคุมตนเอง (8.68) กระบวนการ 3 ได้แก่ การใช้เหตุผล (6.63) และกระบวนการ 4 ได้แก่ การใช้วิธีการธรรมชาติ (4.81)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา)
dc.subject ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)
dc.subject มหาวิทยาลัยเอกชน -- นักศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
dc.title.alternative A study of student’s effective djustments process for living in the privte university
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of the research were; 1) to study the students problems at private university, 2) to synthesize the adjustment process from the experience of students, 3) to analyze the effectiveness of adjustment process and the ways for using each process. The samples for the quantitative data collection were 1,250 students in academic year 2016. A five-scale questionnaire was used for collecting data. The statistics used were mean, standard deviation and discriminant analysis. For qualitative study, the participants were 20 students of second year students in academic year 2016. The data collected by focus group interview, content analysis combined with quantitative study results were used for analyzed data. The findings were as follows: 1. The student adjustment problems at the private university were: 1) environment, the item of highest mean was ‘The students had very less time for relaxation,’ 2) physical necessity; the item of highest mean was ‘You have malnutritious food,’ 3) learning, the item of highest mean was ‘The students found assigned subjects interesting’. 2. The students at the private university had two patterns of adjustment: The first pattern was related to process 1 the increase of attempt and the change of goals, if the initial attempt of adjustment was not successful, the second pattern was involved with the implementation of processes 2 to process 4 in accordance with such causes, process 2 frustration, which was about with the process of self-control and regression, process 3 conflicts, which was about the process of rationalization, reality confrontation, and reality avoidance, and process 4 stress or pressure, which was about the process of the natural therapy and the mental mechanism. 3. The effectiveness of adjustment processes were that: Process 1; the three problems; environment, physical necessity and learning students were found to be at the highest mean of successful to adjustment. Process 2; frustration, process 3; conflicts and process 4; stress, all of those problems were found to be at highest level mean of students successful adjustment. The consideration of effectiveness with discriminant functions showed that the overall separation of group successful using of each functions was statistical significance at .05 level. The row score highest weighting coefficients of classification function of successful adjustment groups of each process. For decision using were; Process 1 was the goal change (14.90). Process 2 was self-control (8.68). Process 3 was rationalization (6.63). Process 4 was natural method (4.81).
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account