DSpace Repository

การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author อโณทัย ลาดเหลา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7476
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับทักษะวิจัยของนักเรียน และเพื่อวิเคราะห์โมเดลพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะวิจัย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ MSEM (The multilevel structural equation model) โดยมีหน่วยการวิเคราะห์สองระดับ คือ ระดับจุลภาค (Micro-level unit) หรือระดับนักเรียน (Student level) และระดับมหภาค (Macro-level unit) หรือระดับโรงเรียน (School level) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน 1,100 คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ตัวแปรทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมด้านสังคมกับกลุ่มเพื่อน และแรงจูงใจในการทำวิจัย ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียน ได้แก่ ทักษะวิจัยของครู คุณภาพการสอนทำวิจัยของครู คุณภาพงานวิจัยครู ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และบรรยากาศการทำวิจัยในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่นสูง การตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับทักษะวิจัยของนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า 2 = 17.809, df = 13, p = .1649, 2/ df = 1.37, RMSEA = .019, CFI = .998, TLI= .996, SRMRw = .011, SRMRb = .014 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า 2 = 793.469 =, df = 294, p = .000, 2/ df = 2.698, RMSEA = .039, CFI = .969, TLI = .962, SRMRw = .025, SRMRb = .191 โดยแบ่งระดับการทำนาย ดังนี้ 2.1 ตัวแปรทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมทางสังคมกับกลุ่มเพื่อน และแรงจูงใจในการทำวิจัยของนักเรียน มีอิทธิพลต่อทักษะวิจัยของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 72.5 2.2 ตัวแปรทำนายโมเดลทักษะวิจัยระดับโรงเรียน ได้แก่ ทักษะวิจัยครู คุณภาพ การสอนวิจัยของครู คุณภาพงานวิจัยของครู ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและบรรยากาศทำวิจัยในโรงเรียน พบว่า ไม่มีอิทธิพลใดที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยนักเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาทางวิชาชีพ
dc.subject คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การวิเคราะห์พหุระดับ
dc.title การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
dc.title.alternative An nlysis of multi-level fctors ffecting the third yer voctionl certificte students’ reserch skills under the jurisdiction of the office of the voctionl eduction commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to validate the multi-level measurement model and the multi-level causal model of factors influencing students’ research skills under the Office of the Vocational Education Commission. Using the analysis of the Multilevel Structural Equation Model (MSEM), it consists of two levels of analysis: Micro-level Unit or Student Level and Macro-level Unit or School Level. The sample comprised of 1,100 administrators, teachers and students of 50 colleges in vocational education academic year 2017. All participants were drawn by using two-stage random sampling. The predictive variables of student were; Learning Behavior, Social Behavior and Research Motivation. Predicting variables of school level were; research skills of teachers, quality of teaching, quality teacher research, leadership in academic administration, and the atmosphere of doing research in school. Research instrument were scales content validity and reliability were met in research requirement at high level. Data were analyzed by using Mplus Program to validate both the multi-level measurement model and multi-level structural equation model to empirical data. Research findings were; 1. The multi-level measurement model of students' research skills under the Office of the Vocational Education Commission was consistent with the empirical data with the empirical data with = 17.809, = 13, = .1649, = 1.37, = .019, = .998, = .996, = .011, = .014 meeting the criteria. 2. The multi-level structural equation model of factors influencing students’ research skills under the Office of the Vocational Education Commission was consistent with empirical data with = 793.469 =, = 294, = .000, = 2.698, = .039, = .969, TLI = .962, = .025, = .191 . Levels of prediction can be presented as follows. 2.1 Variables used to predict dependent variables at student level were; learning behavior, social behavior, and the motivation to do research of students, they influenced the research skills of student at statistical significance of .01 with a coefficient of determination at 72.5%. 2.2 Variables predicting the model of research skill at the school level were; research skills of teachers, quality of teaching, quality teachers’ research, leadership in academic administration, and the atmosphere of doing research in school did not influence student research skills at statistical significance of .05.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account