dc.contributor.advisor |
สมโภชน์ อเนกสุข |
|
dc.contributor.advisor |
สุรีพร อนุศาสนนันท์ |
|
dc.contributor.author |
แสนพล กล่อมหอ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:59:00Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:59:00Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7474 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ 2) ศึกษาความพร้อมของสถานศึกษา แหล่งความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เป็นแหล่งสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน 4) พัฒนากลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดสอนให้น้อยลงเรียนรู้ให้มากขึ้น 5) ศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการใช้กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ ครูผู้สอน และผู้บริหาร รวมทั้งหมด 436 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า ขนาดของผล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการ มากที่สุด คือ การนำหลักการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ 2. ความพร้อมของสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก คือ สถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีรถยนต์ และมีความร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษา 3. ความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน มี 5 องค์ประกอบ คือ สมรรถนะผู้เรียน บทบาทครูผู้สอน การเรียนการสอน การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน และบรรยากาศในการเรียนรู้ 4. กลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ คือ การลดจุดอ่อน การเสริมจุดแข็ง และการเพิ่มโอกาส โดยมีแนวทางที่สำคัญ คือ ลดการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลาง จัดการสอนโดยร่วมมือกับ สถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อสารสนเทศต่าง ๆ 5. กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ เนื่องจากสถานศึกษามีความร่วมมือกับสถานประกอบการรถยนต์หลายแห่ง การคมนาคมสะดวก และมีสื่อสารสนเทศเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การศึกษาทางการช่าง |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.title |
การวิจัยและพัฒนาการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ของวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกโดยแนวคิดสอนให้น้อยลงเรียนรู้มากขึ้น |
|
dc.title.alternative |
Reserch nd development to enhnce qulity of knowlege of uto-mechnics voctionl certifiction student in estern re technicl college by the conceps of tech less, lern more |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to: 1) study need assessment of auto-mechanics vocational certificate students to enhance quality of knowledge; 2) study readiness of technical college, internal and external knowledge sources; 3) factors analysis quality of knowledge corresponded to the teach less and learn more concepts; 4) develop strategy to enhance quality of knowledge based on quality of knowledge factors; 5) feasibility study of strategy to enhance quality of knowledge. Quantitative study: The 436 samples consisted of students, teacher, and administrative staff. The instrument is five-scale questionnaire. Qualitative study: The 34 participants consisted of students, teacher, and administrative staff. The instrument is interview schedule. The statistics analyzed quantitative data were mean, standard deviation, need assessment index (PNI modified), and effect size. The content analysis was used to analyzed qualitative data. The findings were as follows: 1. The first order of need assessment was applied principle of Mathematics and Sciences to the workable career. 2. The important readiness of technical college also internal and external knowledge sources should be setting in the industrial estates and made contact to academic cooperation. 3. The five factors to enhance quality of knowledge were students competencies, teacher’s role, learning and teaching style, promoting of student quality, and learning atmosphere. 4. The strategy to enhance quality of knowledge were reduced weakness, increased strength, and increased opportunity. In practical: reduced the regular style of teacher center role, cooperated standard industrial factories to learning and practicing students, and promoting students to learning via various sources of information media. 5. The developed strategy was suitable and feasible use because every technical colleges made contact with auto-mechanics factories to learning and practicing students, convenient communication, and adequate sources of information. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|